[ใหม่] รับดูรถมือสอง By. อาจณรงค์ เศรษฐีสมบัติ

697 สัปดาห์ ที่แล้ว - กรุงเทพมหานคร - คนดู 3,921

700 ฿

  • รับดูรถมือสอง By. อาจณรงค์ เศรษฐีสมบัติ รูปที่ 1
รายละเอียด

 

การเลือกรถมือสองในมุมมองของผม                                                             085-325-2353 โทรย้ำๆ นิดนึงนะครับ บางครั้งหลายสายเข้ามาพร้อมกัน โดย อาจณรงค์ เศรษฐีสมบัติ

หากต้องการดูเบื้องต้น มีทั้งหมด 4 Part นะครับ http://www.youtube.com/watch?v=yQr4TZkRpSk part1

part2 http://www.youtube.com/watch?v=OmyfMFX4S10&feature=mfu_in_order&list=UL

part3 http://www.youtube.com/watch?v=mkRKFRD-SVk&feature=mfu_in_order&list=UL

 part4 กำลังอัพโหลดอยู่ 55++ พอดีคอมช้านิดครับผม

 

ขอเรียนทุกท่านไว้ก่อนนะครับว่าทั้งหมดนี้เป็นเพียงประสบการณ์ของผมเท่านั้นผมอาจจะตั้งกฎเกณท์ไว้ค่อนข้างสูงและคิดเสมอว่ารถไม่ได้มีคันเดียวต้องหาที่ดีที่สุดถ้าสงสัยคือหยุดทันทีไปหาใหม่เพราะเป็นความหวังและความเชื่อมั่นของผู้ซื้อที่มีต่อผมและผมจะดูตามความคิดของผมและให้ผู้ซื้อเป็นคนคุยกับคนขายและผมจะไม่พูดหรือตอบคำถามใดๆทั้งสิ้นให้ดูเหมือนพวกรับจ้างดูรถทั่วๆไปและผมจะให้ผู้ซื้อเลือกไว้2หรือ3คันซึ่งผมจะไล่ดูตามลำดับ เมื่อก่อนผมเคยรับดูรถมือสองโดยไม่คิดค่าตอบแทน(ตามแต่จะให้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นข้างหนึ่งมื้อ)แต่ก็จำไม่ได้ว่าดูไปทั้งหมดกี่คัน อันนี้ของฟรีใครๆก็ชอบตอนหลังอยากทำเป็นอาชีพเหมือนกันแต่เนื่องจากฟรีมาตั้งแต่ต้นก็เลยลำบากใจสุดท้ายก็ดูให้เฉพาะที่ขับมาให้ดูที่บ้านเท่านั้น (((อาจณรงค์ เศรษฐีสมบัติ))) ----กันcopy

 

 

 

-        เมื่อผมเดินทางไปถึงสถานที่ที่รถคันที่เขาจะให้ดูให้จอดอยู่ผมก็จะเริ่มดูจากสภาพภายนอกก่อนโดยเคาะตัวถังรอบๆรถว่าเป็นเสียงของเหล็ก(เสียงแก๊งๆใสๆ)หรือว่าเป็นเสียงทึบๆ(ปุ๊คๆ)ของสีโป๊วถ้าเป็นจุดที่ไม่สำคัญและบริเวณไม่กว้างเช่นแก้ม ด้านข้าง ด้านท้ายหรือประตูก็ถือว่ายังยอมรับได้(อันนี้เป็นเรื่องปกติการที่จะไม่เฉี่ยวไม่ชนเลยเป็นไปได้ยากมาก)แต่ถ้าเจอด้านข้างหรือด้านหน้าเป็นหรือด้านท้ายหรือหลังคาที่เป็นบริเวณกว้างผมก็จะไม่สนใจรถคันนั้นทันที

 

-        ถ้ายอมรับได้ก็จะมาดูเรื่องสีรถว่ามีสภาพเรียบร้อยแค่ไหน ชนิดของสีที่ใช้ที่ใช้ต่างกันหรือไม่(สีธรรมดา-ลูไซด์-สีเกร็ด)มีตรงไหนที่พื้นสีเข้ม-ซีดแตกต่างกันโดยจะเน้นไปที่สีของฝากระโปรงเทียบกับแก้มทั้งสองข้างถ้าสีไม่เหมือนกันแสดงว่ามีการทำสีมา(อาจจะจากการชนหรือไม่ก็ได้)จากนั้นจะนำทั้งหมดไปเทียบกับหลังคาและฝาท้ายแต่จะเน้นที่หลังคาเพราะ ถ้าหลังคาถูกทำสีที่เกิดจากการชนคือการชนที่รุนแรงมากหรือคว่ำมาไม่น่าคบแน่ๆอันนี้จะดูที่ขอบยางของกระจกหน้าและกระจกหลังถ้าทำสีมาสีจะแตกตรงมุมขอบให้เห็น ดูความสม่ำเสมอของขอบประตูด้านบน-ล่างว่ามีเอียงหรือบิดหรือต่ำๆสูงๆหรือไม่ทั้งสี่บานถ้าพบตรงจุดนี้ก็จะหยุดเช่นกันยิ่งถ้าเจอประเภทสาดสีมาทั้งคันผมจะไม่สนใจรถคันนั้นเลย

 

-        ถ้าผ่านจุดนี้ผมก็จะเปิดดูที่ห้องโดยสารผมจะเปิดพื้นให้ถึงพรมชั้นล่างสุดโดยเฉพาะตรงที่พักเท้าด้าหน้าทั้งสองข้าง(ข้างหลังไม่เน้นมาก)และจะดมดูจะต้องไม่มีกลิ่นอับของความชื้นเหมือนซักผ้าตากไว้ในร่มเพราถ้ามีเป็นไปได้ว่าระบบแอร์รั่ว-มีการผุของเหล็กที่ผนังกั้นห้องโดยสารกับห้องเครื่อง-มีการรื้อหรือยกเครื่องออกจากตัวรถแล้วประกอบไม่ดีจนมีน้ำรั่วเข้ามาได้(อาจจะซ่อมหรือชนมา)เชื่อไหมบางคันเจอน้ำใต้พรมเลยก็มี ถ้าเจอก็หยุดเช่นกันอันนี้ไม่มีข้อแม้

 

-        ถ้าผ่านก็จะดูขอบกระจกหน้า(ดูจากข้างใน)อาจจะต้องถอดขอบออกถ้าเป็นกระจกจากโรงงานจะต้องไม่มีเศษซิลิโคนให้เห็นและขอบทุกด้านต้องแนบสนิท(ถ้าเป็นรถรุ่นใหม่ๆจะดูที่ยี่ห้อทุกบานต้องยี่ห้อเดียวกัน)ถ้ามีเศษซิลิโคนหรือกระจกแนบข้างแต่อีกข้างโด่งอันนี้ก็แสดงว่าเคยเปลี่ยนกระจกหน้ามา(ไม่ว่าด้วยเหตูใดก็ตาม)ผมก็จะหยุดเช่นกัน

 

-        ถ้าผ่านก็ดูต่อคราวนี้ก็บิดสวิทช์กุญแจดูสัญญานเตือนต่างๆต้องติดครบแล้วก็สตาร์ทเครื่องดูสัญญานเตือนทุกตัวต้องทำงานตามปกติถ้าไม่ก็ดูอีกทีว่ารับได้หรือเปล่า(เช่นรูปแบตเตอรี่อาจเป็นไปได้ถ้ารถจอดนานจนแบตหมดก็จะเก็บความสงสัยไว้ก่อน)จากนั้นก็จะเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีในรถทั้งหมดตัวไหนทำงานไม่ทำงานก็จำไว้และจะค้างไฟหน้าไว้ที่ไฟสูงเปิดแอร์แรงสุด แล้วค่อยเปิดกระโปรงหน้า (((อาจณรงค์ เศรษฐีสมบัติ))) ----กันcopy

 

-        มาดูที่ห้องเครื่องในส่วนนี้ค่อนข้างเน้นมากถ้าเจอตรงไหนจะหยุดทันทีอันแรกก็เปิดฝาหม้อน้ำทิ้งไว้(บางรุ่นไม่มีก็เปิดที่พักน้ำแทน)จากนั้นก็เริ่มฟังเสียงและใช้มือกับที่ตัวเครื่องดูการสั่นเสทือนที่จะบอกถึงความเรียบของเคื่องยนต์ในรอบเดินเบาต้องไม่มีการกระตุก การสั่นต้องต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ(ไม่ใช่สั่นบ้างหยุดบ้าง) ฟังเสียงสายพาน-ลูกรอก-พัดลมต้องไม่ส่งเสียงเจี้ยวจ้าวเกินพอดี ดูขอบห้องเครื่องด้านหน้า-ซ้าย-ขวาต้องมีร่องรอยของจุดสป็อตของการอาร์คไฟฟ้าที่ใช้ในการประกอบ(เป็นหลุมที่มีระยะห่างเท่าๆกันถ้ามีการชนสีโป๊วจะอุดรอยพวกนี้เป็นเรียบหมด) (((อาจณรงค์ เศรษฐีสมบัติ))) ----กันcopy

 

-        จากนั้นก็จะดูชุดโคมไฟหน้าว่าเรียบเสมอกับกับไฟเลี้ยวหรือเปล่ามีการปรับเอียงไว้หรือไม่ถ้าเอียงก็ปรับให้ตรงและเสมอเป็นปกติซะแล้วเดินไปด้านหน้าห่างจากรถประมาณ 10-15เมตรแล้วหันมาดูไฟหน้ารถ(ที่ผมเปิดทิ้งไว้ที่ไฟสูง)สังเกตุไฟทั้งสองข้างจะต้องมีความสูงที่ใกล้เคียงกันถ้าสูงข้างต่ำข้าง(อันนี้ก็เหมือนตอนกลางคืนที่บางครั้งเราขับสวนคันอื่นไฟข้างนึงสูงอีกข้างนึงต่ำ)แต่ผมได้ปรับโคมให้เสมอกันแล้วอันนี้ร้อยทั้งร้อยบอกได้เลยชนด้านหน้าหรือเฉียงๆข้างใดข้างหนึ่งมาหลีกให้ห่าง (((อาจณรงค์ เศรษฐีสมบัติ))) ----กันcopy

 

-        ถ้าผ่านก็กลับมาที่รถดึงสายคันเร่งๆเครื่องดูว่าเร่งดีหรือไม่ต้องไม่มีสดุดหรือสำรักน้ำมันและเสียงแขกของวาล์ว(แก๊กๆ)ต้องไม่ดังจนน่าเกลียด ตอนนี้เครื่องร้อนแล้วก็จะมาดูน้ำหม้อน้ำหรือหม้อพัก(ที่เปิดฝาทิ้งไว้แต่ทีแรก)การไหลวนต้องไม่มีฟองอากาศ(ยิ่งเร่งเครื่องฟองยิ่งใหญ่ขึ้น)ถ้ามีแสดงว่าเครื่องเคยโอเวอร์ฮีตมาจนฝาสูบโก่งไม่ควรคบ ถ้าผ่านก็จะก้มดูด้านล่างว่ามีน้ำแอร์หยดอย่างสม่ำเสมอดี(ถ้าไม่มีหยดเลยก็ไม่เอา)และต้องไม่มีอย่างอื่นหยดนอกจากน้ำแอร์จากนั้นก็ไปปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปิดไว้แล้วดับเครื่องที่สำคัญคือระหว่างที่เช็คอยู่ถ้าคนขายไปดับเครื่องผมก็จะไม่ดูต่อเช่นกัน(แสดงว่าต้องการปกปิดบางอย่าง)แล้วก็มาดูรอยรั่วของน้ำตามท่อน้ำหรือน้ำมันในระบบว่ามีใหม่ๆออกมาตรงไหนบ้าง(อันนี้พอรับได้บ้างแต่เก็บข้อมูลไว้)ดูตามจุดประกบต่างๆเช่นฝาครอบวาล์ว-เครื่อง-หัวเกียร์ว่ามีร่องรอยของสารซีลป้องกันรั่วหรืไม่(สีส้มหรือสีขาว)ถ้ามีก็แสดงว่าจุดนั้นๆมีการถอดซ่อมมาแล้ว(เก็บเป็นข้อมูลไว้)รอซักพักแล้วก็มุดดูพวกลูกยางกันฝุ่น-กันโคลง-ยางหุ้มเร็คพวงมาลัยว่ามีจุดไหนชำรุดเสียหายหรือจาระบีรั่วหมดบ้าง(พอรับได้ก็เก็บข้อมูลไว้)จากนั้นก็ปิดฝาหม้อน้ำหรือหม้อพักเช็คระดับของเหลวทุกอย่างเช็คการยุบตัวของโช้คต้องไม่แข็งหรือนิ่มเกินไปและต้องไม่มีเสียงกระทบกันของเหล็ก(เก็บข้อมูลไว้) จากนั้นก็ทดลองขับ(ถ้าไม่ให้ลองขับก็หยุดเช่นกัน)ดูความสม่ำเสมอของอัตราเร่งต้องไม่กระตุก รอบเครื่องกับความเร็วต้องสัมพันธ์กันไม่ใช่รอบสูงแล้วแต่รถไม่วิ่งก็ใช้ไม่ได้ พยามหาถนนที่โล่งอัดและลากเกียร์ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ที่ดีที่สุดคือต้องไม่มีการสดุดของเครื่องเลยและการสับเปลี่ยนเกียร์(ธรรมดา)จะต้องลื่นเข้าง่ายไม่มีเสียงโครกครากให้ได้ยินอันหมายถึงความเสื่อมสภาพของครัทช์หรือครัทช์ที่เคยไหม้มาก่อน จากนั้นก็รักษาความเร็วไว้ที่100-120แล้วเบรคแรงๆที่ดีต้องไม่มีเสียงเอี๊ยดอ๊าด-อาการปัด-พวงมาลัยสั่น-รถสั่นทั้งคันต้องไม่มีให้เห็นถ้าเล็กน้อยก็ไม่เป็นไรพอรับได้(เก็บข้อมูลไว้) ถ้าเป็นเกียร์ออโต้ก็จะเบรคจนรถหยุดเลยเครื่องต้องไม่ดับด้วยจากนั้นผมก็จะเลี้ยวเข้าปั๊มน้ำมันหาที่โล่งหมุนพวงมาลัยซ้าย-ขวาสุด(ทีละด้าน)แล้วเร่งเครื่องออกตัวแรงๆต้องไม่มีเสียงก๊อกๆแก๊กๆของเพลาหรือลูกหมาก(ถ้ามีก็เก็บข้อมูลไว้) (((อาจณรงค์ เศรษฐีสมบัติ))) ----กันcopy

ตลอกเวลาที่ลองขับที่หน้าปัดต้องไม่มีสัญญานอะไรกระพริบขึ้นมาและเกร์ความร้อนต้องนิ่งประมาณกลางๆ(หรือที่ใดที่หนึ่ง)โดยไม่เลื่อนขึ้นลงจึงจะถือว่าเยี่ยม เมื่อออกจากปั๊มมาก็จะมองหาหมู่บ้านจัดสรรเจอปุ๊บก็เลี้ยวเข้าไปเลยหาช่องที่มีเนินปูนต์กันรถวิ่งเร็วหรือแมงกะไซค์แล้วจะอัดประมาณ60ลุยทดสอบช่วงล่างซัก2-3จุดเพื่อทดสอบช่วงล่างจะต้องไม่มีเสียงดังของเหล็กกระทบกันให้ได้ยินแต่ถ้าเป็นเสียงทึบๆของโช้คหรือสปริงก็ปกติ ในระหว่างการทดลองขับ(ผมจะไปกับผู้ขายเท่านั้นให้ผู้ซื้อคอยที่เต็นท์หรือที่บ้านของผู้ขาย)ถ้ามีการเสนอเงินให้ผมเพื่อให้เชียร์รถของเขาจนขายได้(เพราะเขาคิดว่าผมเป็นพวกรับจ้างดูรถทั่วๆไป)ผมก็จะเลิกสนใจรถคันนั้นทันทีเช่นกัน(เคยมีเสนอให้ต่ำสุด5พันและสูงสุด2หมื่น) จากนั้นก็เอารถไปคืนแล้วลงจากรถมาดูสภาพของยางว่าจะยังสามารถใช้งานต่อไปได้มากน้อยเพียงใด(เพื่อเป็นข้อมูล)ถ้ายางมีกลิ่นเหม็นไหม้หนือสึกแบบดำอย่างเห็นได้ชัดและกดดูที่ดอกแข็งๆ(ทั้งที่ยังร้อนอยู่)แสดงว่าหมดสภาพเพราะถึงแม้จะไปเซาะร่องยางมาการวิ่งดังกล่าวจะแสดงผลทันที จากนั้นก็กลับออกไปดูคันที่สองและที่สามตามลำดับ(บอกว่าขอเวลาคิดก่อนอย่าหลงกลวางเงินมัดจำโดยเด็ดขาดขายได้ก็ให้เขาขายไป)เมื่อครบแล้วก็กลับบ้าน(อันนี้ผมกลับจริงๆนะครับ)แล้วก็มาสรุปให้ผู้ซื้อฟังว่าแต่ละคันเป็นอย่างไร ซื้อมาต้องซ่อมอะไร ใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่คันไหนน่าสนใจที่สุดตามลำดับหนึ่งสองสามแล้วให้ผู้ซื้อไปตัดสินใจและไปต่อรองราคากันเอาเองผมไม่เกี่ยว(แต่ทุกคันที่ผมไปดูให้ผมรับประกันซ่อมให้ด้วยตลอดอายุการใช้งานและผมจะให้เครดิตกับเต็นท์ที่มีการรับประกันหลังการขายเป็นลายลักษณ์อักษรสูงกว่าเต็นท์ทั่วๆไป) และขอย้ำว่าการดูรถบ้านสำหรับผมจะใช้วิธีการโทรถามสถานที่หรือเลขที่บ้านก่อนแต่จะนัดดูรถในอีก5-7วันหรืออาจจะยังไม่นัดเลยจากนั้นผมจะไปหาบ้านหรือสถานที่ดังกล่าวจนเจอแล้วจะซุ่มดูอยู่1-2วันต้องขับตามดูการใช้งานและสภาพที่พอดูได้จากระยะไกลด้วยผมจะเลือกเฉพาะรถที่มีการใช้งานอยู่เท่านั้น ถ้าเจอแบบคลุมผ้าหรือจอดทิ้งไว้ก็ไม่เอาครับหรือบางทีขับตามไปเจอเลี้ยวเข้าอู่อันนี้ก็ไม่เอา หาบ้านไม่เจอก็ไม่เอา นัดนอกสถานที่ก็ไม่เอา ยิ่งเป็นเบอร์บ้านยิ่งเช็คง่ายถาม 13(เดี๋ยวนี้เป็น 1133 แล้ว)ถามหาชื่อเจ้าของบ้านของเบอร์นั้นๆว่าตรงกับเจ้าของรถหรือไม่บางทีก็ไม่ตรงกันก็ไม่เอา(อาจจะมีเต็นท์มาเช่าหน้าบ้านขาย) ดังนั้นการดูรถบ้านสำหรับผมแล้วจะยากกว่าการดูรถเต็นท์ครับเพราะดูได้แค่อาทิตย์ละไม่เกิน 2 คันทั้งหมดที่เล่ามาเป็นเพียงคร่าวๆ(แค่นี้ก็ยาวมากแล้ว)ยังมีรายละเอียดปรีกย่อยอีกมากพอดูเหมือนกันครับแต่ไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่ขอย้ำอีกครั้งว่ามันเป็นกฏที่ผมสร้างขึ้นมาเองอาจจะดีหรือไม่ดีก็ได้ครับไม่จำเป็นต้องเชื่อครับเพราะ ปล.เป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัวครับ

 

 

การเลือกรถมือสองในมุมมองของผม(ตอน2)

 

ขอใช้ชื่อตอนนี้ว่า...?ป้องกันตัวยังไงไม่ให้โดนหลอก?.....

 

ที่มา

 

เรื่องนี้โดยส่วนตัวแล้วเป็นเรื่องที่ดีและดีกว่าตอนแรกเสียอีก แต่มันออกจะหมิ่นเหม่มากไปหน่อย แม้ผมจะเคยทำลักษณะนี้มาก่อนตั้งแต่การเริ่มต้นหรือดูรถยังไม่เป็นเท่าไหร่แต่กาลเวลาก็ทำให้ผมลืมเรื่องนี้ไปเพราะตรงนี้มันเป็นเทคนิคเฉพาะตัวในการเลือกซื้อรถมือสองจริงๆที่ลดโอกาสเสี่ยงได้มากที่สุด และไม่เกี่ยวข้องกับใครหรือกลุ่มผู้ประกอบการณ์ใดๆทั้งสิ้น

 

ความจริงแล้วผมพยามสื่อในเรื่องการซื้อรถมือสองไปแล้วทั้งจากบทความหลายๆเรื่องไม่ว่าจะเป็น...

 

?การเลือกรถมือสองในมุมมองของผม?

 

?ผมก็อยากมีรถ(มือสอง)ซักคัน?

 

?อาชีพรับจ้างดูรถมือสองไว้ใจได้แค่ไหน?

 

แต่ก็ยังมีสมาชิกในชมรมคนรักรถบางท่านที่ประสพปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการ(บางราย)ที่ขาดคุณธรรมและไร้จรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ แม้บทความที่เคยพูดเรื่องการป้องกันจากหลายๆแง่ที่เคยยกมาในบทความที่แล้วๆมาแต่มันก็อาจจะยังไม่เพียงพอสำหรับการป้องกันตัวเอง บางท่านอาจจะมองว่าสิ่งที่ผมเขียนให้อ่านกันนั้นใช้เวลามากเกินไปหรืออาจจะหารถใหม่ได้เลย ซึ่งท่านเหล่านั้นอาจจะไม่เคยเจอปัญหามาก่อนก็เลยยังไม่เคยเข้าใจความรู้สึกของการถูกเอาเปรียบแบบซึ่งหน้าแถมไม่ผิดกฎหมายด้วยว่ามันเป็นยังไง แต่ถ้าท่านเจอเหตุการณ์ด้วยตนแม้แค่ครั้งหนึ่งครั้งเดียว ท่านอาจจะเข้าใจเรื่องราวหรือสิ่งต่างๆที่ผมเคยพูดเคยย้ำหรือจะรู้ซึ้งเป็นอย่างดีว่าถ้าท่านสามารถทำในสิ่งที่ผมได้พูดไปแล้วนั้นได้มันคุ้มค่ากับสิ่งที่แลกมาด้วยความขมขื่น ความเจ็บปวด เงินที่ต้องเสียไป เวลาที่เสียไปในภายหลังจากการซื้อรถมาแล้วนะครับ

 

มาถึงตรงนี้คงเน้นหลักๆจริงๆแบบปลอดภัยมากที่สุดเพื่อป้องกันตัวเองมากที่สุด โดยเฉพาะท่านที่อาจจะมีทุนไม่มากและไม่ค่อยรู้เรื่องรถมากนัก ขั้นตอนต่างๆที่จะลำดับให้ฟังเป็นขั้นตอนในการเลือกซื้อนะครับไม่ใช่การเลือกรถ ดังนี้ครับ

 

 

1.   การเลือกเต็นท์

 

1.   ผมจะมองไปที่เต็นท์ที่มีการโฆษณาตามสื่อต่างๆและมีรถคันที่เราเลือกไว้อยู่ในโฆษณานั้นด้วยอย่างน้อย 2สื่อ และในคำที่ลงไว้จะต้องระบุหรือกล่าวไปในทำนองที่ว่า?รถพร้อมใช้?และ/หรือ?รับประกันทุกคัน?และ/หรือ??รับประกันคุณภาพ?และ/หรือ?รับประกันไม่มีคว่ำ?และ/หรือ?รับประกันไม่มีชนหนัก?และ/หรือ?ถ้าพบว่ามีปัญหายินดีคืนเงิน?และ/หรือ?รับประกันที่ระบุหลังการขายเป็นระยะเวลาที่แน่นอนอย่างน้อยที่สุด 7วันเช่นซ่อมฟรี?เพราะข้อความเหล่านี้สามารถเป็นข้อผูกมัดได้ในกรณีที่เกิดปัญหาถือว่าเป็นการโฆษณาเกินจริงหรือหลอกลวง ถ้าแน่จริงต้องกล้าลงโฆษณาซิ

2.   ลงลึกในรายละเอียดกับทางเต็นท์ว่าที่เขารับประกันนั้นมีอะไรบ้างอย่างน้อยสุดภายใน 7 วันถ้ามีปัญหาสามารถเคลมอะไรได้บ้างและทางเต็นท์สามารถออกหนังสือรับรองการรับประกันให้ได้หรือเปล่า ถ้ารถคันนั้นๆดีจริงตามกล่าวอ้างเขาสามารถออกหนังสือรับรองระบุการรับประกันให้ได้ ถ้ามีการบ่ายเบี่ยงแสดงว่าของปลอมครับเพราะแค่ 7วันยังไม่กล้ารับรองแสดงว่ารถคันนั้นๆพร้อมที่จะเกิดปัญหาได้ทุกเวลา

 

2.   การเก็บหลักฐาน โดยเก็บโฆษณาทุกชิ้นที่เกี่ยวข้องกับรถคันที่จะซื้อเท่าที่จะหาได้ที่ระบุตามข้อ 1.1

3.   การจ่ายหรือวางเงินจอง

 

1.   หาพยานที่ไม่ใช่ญาติพี่น้องไปด้วยในการณีที่ต้องเซ็นต์หรือเป็นพยานตามข้อ 1.2

2.   จะต้องได้หนังสือรับรองการรับประกันตามข้อ 1.2 ก่อนจ่ายเงิน

3.   ขอให้มีการระบุวันที่รับรถหรือการนัดในใบจองหรือใบนัดทำสัญญา

4.   ขอให้มีการระบุอย่างชัดเจนว่าวันรับรถจะมีการแก้ไขจุดใดให้บ้างหรือรถจะอยู่ในสภาพใดถ้ามีสิ่งที่ต้องซ่อมหรือเปลี่ยนยกเว้นที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์(อันนี้พูดไปแล้วในบทความเดิมเรื่องการเลือกรถมืองสองในมุมมองของผมตอนแรกที่กล่าวมาข้างต้น)หรือระบบแอร์เช่น แอร์ไม่เย็นทางเต็นท์มักอ้างว่าน้ำยาหมดวันรับรถจะเติมให้ขอให้สัญนิฐานเลยว่าตู้แอร์รั่วเพราะโอกาสที่น้ำยาแอร์จะรั่วซึมออกจากระบบที่เป็นระบบปิดนั้นเกิดขึ้นน้อยมากค่าซ่อมราว 3พันขึ้นไปและจะมีปัญหาหลังซื้อไปราว 10-45วัน(ตามแต่จะรั่วมากหรือน้อย)และเสียเวลาอีกประมาณ 6-48ชั่วโมง

5.   ต่อรองการวางเงินจองให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้เช่น 2-5 พัน(ไม่ควรเกิน 10พัน) ยิ่งมีการเรียกเงินมัดจำสูงเท่าไหร่ยิ่งเป็นการส่อแววความไม่ซื่อสัตย์มากเท่านั้น

6.   ตกลงกันก่อนว่าขอถ่ายภาพรถคันที่จะวางเงินมัดจำถ้าไม่ยินยอมก็ยกเลิกไปเลย

7.   ทำการถ่ายรูปรถคันนั้นด้วยกล้องธรรมดา(ที่ใช้ฟิล์ม)ทุกซอกทุกมุมให้ละเอียดและทำการล้างอัดทันที(ไม่เกิน 1 วันหลังจากถ่าย)พร้อมเก็บหลักฐานการล้างอัดรูปไว้ด้วยเพื่อเป็นการป้องกันการเปลี่ยนถ่ายอะไหล่ออกจากตัวรถและเป็นหลักฐานว่าจะมีการซ่อมหรือแก้ไขตามข้อตกลง(อาจจะมีการใช้นิ้วหรือมือชี้ระหว่างถ่ายรูปในจุดที่ตกลงกันว่าจะแก้ไขให้เรียบร้อย)

8.   หรือจะจ่ายคนละครึ่งขอให้ระบุลงในใบจองให้เรียบร้อยตกลงกันให้เรียบร้อยว่าค่าใช้จ่ายบางส่วนเช่นค่าโอน ใครจะเป็นคนจ่าย

9.   ตรวจเช็คหลักฐานต่างๆที่กล่าวมาทั้งหมดให้เรียบร้อย พร้อมกับให้เอกสารส่วนของเราถ้าเป็นการเช่าซื้อ

10.   วางเงินมัดจำและนัดทำสัญญาหรือนัดวันจัดสินเชื่อ

 

4.   ทำสัญญาซื้อ-ขายหรือเช่าซื้อ

 

1.   วันที่ทำสัญญาซื้อ-ขายหรือเช่าซื้อและวันรับรถให้เป็นวันเดียวกันและให้เร็วที่สุดนับจากวันจองวันต่อวันยิ่งดี

2.   ตรวจดูให้แน่ชัดว่าคนที่ทำสัญญากับเราเป็นผู้ประกอบการตัวจริง

3.   ถ้ามีการไม่ทำตามข้อกำหนดหรือไม่สามารถส่งมอบรถตามกำหนดให้ยกเลิกสัญญาโดยไปแจ้งความนำบันทึกมาขอรับเงินมัดจำคืนถือว่าเป็นการผิดสัญญาในการส่งมอบรถ(ทีเราไม่ไปตามกำหนดเขายังสามารถริบเงินมัดจำของเราได้เลย)

4.   ในขั้นตอนการรับ-มอบรถให้ปฎิบัติตามข้อ 3.7คือการถ่ายรูปเพื่อเป็นการยืนยันว่ารถที่เรามาดูอยู่ในสภาพที่ได้ตกลงกันไว้มิได้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพโดยที่เราไม่ยินยอมหรือตามสภาพที่ได้ตกลงในวันที่เราจองรถ

 

5.   ถ้ารถเกิดปัญหาในระยะประกันตามที่ระบุการรับประกันจะทำยังไง

 

1.   จอดรถทันที(ถ้าวิ่งไม่ได้)นำหลักฐานที่มีทั้งหมดรวมถึงหนังสือและสื่อที่ระบุการรับประกันไปลงบันทึกประจำวันที่ที่สถานีตำรวจ โดยระบุด้วยว่าจะนำรถกลับไปที่เต็นท์ถ้ารถวิ่งได้หรือจะลากไปกรณีที่วิ่งไม่ได้เพื่อให้ทางเต็นท์รับผิดชอบตามเงื่อนไขรับประกัน

2.   หลังลงบันทึกแล้วแจ้งไปที่เต็นท์ว่ารถเกิดปัญหาสอบถามว่าจะช่วยเหลือยังไง

3.   ถ้าการติดต่อไปนั้นมีการบ่ายเบี่ยงให้ลากรถ(ในสภาพที่ถูกต้องกรณีที่วิ่งไม่ได้)กลับไปฝากจอดไว้ที่เต็นท์แต่ถ้ารถยังวิ่งได้ก็ขับไปฝากจอดที่เต็นท์และนัดวันมารับรถหลังการซ่อม(((อาจณรงค์ เศรษฐีสมบัติ))) ----กันcopy

4.   ถ้าทางเต็นท์บ่ายเบี่ยงที่จะซ่อมหรือปัดความรับผิดชอบแจ้งความดำเนินคดีทางกฎหมายทันทีอย่ารอช้าและไม่ควรทำแค่ที่เดียวอาจจะร้องผ่านไปยัง ส.ค.บ. หรือผ่านสื่ออีกทางด้วยอย่างน้อยก็เป็นการป้องกันตัวจากอำนาจมืดเพราะสามารถร้องเรียนได้เนื่องจากเราเป็นผู้เสียหายและมีหลักฐานที่จำดำเนินคดีแล้วว่ามีการทำผิดสัญญา-โฆษณาเกินจริงหรือเป็นเท็จ-ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้า โดยเรียกร้องความเสียหายทั้งเงินทองและทางจิตใจ-ค่าเสียเวลาเข้าไปด้วย

5.   ถ้ามีการเจรจาต่อรองอย่าอ่อนข้ออย่างเด็ดขาด อย่างน้อยควรจบด้วยการเปลี่ยนรถคันที่สภาพดีในราคาที่เท่ากันหรือการคืนเงินหรือยกเลิกสัญญา

 

............คงคร่าวๆแค่นี้นะครับเพราะความจริงแล้วเรื่องนี้ไม่อยากจะเขียนถึงเลยเพราะเราหาทางป้องกันทางผู้ประกอบการก็จะรู้ว่าเราจะทำอะไรแต่เมื่อมันเกิดเรื่องขึ้นมาแล้วก็เลยตัดสินใจเขียนมาให้ศึกษาเป็นแนวทางกันนะครับ...........

 

............ยังคงย้ำจุดยืนเดิมว่ากรณีที่ผมสงสัย-ลังเล-ไม่แน่ใจผมจะหยุดและไม่ยอมเสี่ยง บางท่านอาจจะมองว่าเป็นการใช้เวลามากเกินไปแต่ถ้ามองว่าเป็นการป้องกันปัญหาที่ตามมาถ้าเจอแค่ครั้งเดียวก็จะรู้ว่าเวลาที่เสียไปก่อนซื้อรถนั้นสุดจะคุ้มค่าเมื่อเทียบกับเวลาที่จะเสียไปหลังซื้อรถครับ..............

 

.............หลายๆท่านอาจจะคิดว่ามันคือต้นทุนที่สูงขึ้นสำหรับการซื้อรถเพราะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่ต้องไม่ลืมว่าขั้นตอนก่อนซื้ออาจจะเสียเงินเพิ่มอีก 5พันถึง 1 หมื่นแต่เมื่อเกิดปัญหาอาจจะเสียหลายหมื่นและเมื่อคิดเป็นค่าที่ต้องมานั่งเป็นทุกข์ยังไงก็คุ้มครับ..............