[มือสอง] Organic agriculture พันธุ์ข้าว กข 43 กข 41 กข 31(ปทุมธานี 80) และพันธุ์ข้าวหอมนิล สุพรรณบุรี 3 พันธุ์ปทุมธานี 1 และพันธุ์ข้าวอายุสั้น 75วัน 85วัน ผลิตโดยกลุ่มเกษตรอินทรีย์อำศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี

709 สัปดาห์ ที่แล้ว - ปราจีนบุรี - คนดู 1,536
รายละเอียด

ผลิตโดยกลุ่มเกษตรอินทรีย์อำศรีมหาโพธิ

+ พันธุ์ข้าว กข-43 ถังละ 180 บาท

+ พันธุ์ข้าว กข-41 ถังละ 180 บาท

+ พันธุ์ข้าว กข-31 ถังละ 180 บาท

+ พันธุ์ข้าว สุพรรณบุรี 3 ถังละ 180 บาท

+ พันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 (หอมปทุม) ถังละ 180 บาท

+ พันธุ์ข้าวปลูกหอมนิล ถังละ 300 บาท (จัดส่งทางไปรษณีย์ หรือ บริษัทขนส่ง ขั้นต่ำ 3 ถัง)

+ พันธุ์ข้าวหอมมะลิแดง ถังละ 200 บาท
+ พันธุ์ข้าวสังข์หยดนครนายก ถังละ 300

+ พันธุ์ข้าวอายุสั้น 75 วันและอายุ 85 วัน

ท่านที่ต้องการพันธุ์ข้าวจำนวนมาก โปรดสั่งจองล่วงหน้า เพื่อจะได้จัดสันแปลงข้าวหลังจัดส่งให้กับหน่วยงานหลักที่สั่งไว้ และต้องขออภัยท่านที่สั่งเขามาใหม่ที่อาจต้องรอคิวในการรับพันธุ์ข้าว


---------------------------------------------------------------------------



+ จำหน่ายข้าวกล้องอินทรีย์ กข-43 , จำหน่ายข้าวสาร(ข้าวอินทรีย์) ข้าวขาว ข้าว กข-43 คุณภาพของเมล็ดทางการหุงต้มรับประทาน ดี ข้าวสุกนุ่ม เหนียว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ(ไกล้เคียงข้าวหอมดอกมะลิ 105 ) และหุ่งขึ้นหม้อดี


+ จำหน่ายข้าวกล้องอินทรีย์ ข้าวสังข์หยด จังหวัดนครนายก
คุณภาพของเมล็ดทางการหุงต้มรับประทาน ดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย
(ข้าวปลอดสารพิษ วิถีเกษตรอินทรีย์ เพื่อสุขภาพ บำบัดโรค โภชนาการสูง)

ข้าวกล้องสังข์หยด เมล็ดข้าวสีแดง อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก มีแคลเซียมและวิตามินบี 1,2 และ E สูงกว่า เป็นข้าวที่ไม่ได้สีเอาจมูกข้าวออก จึงมีแร่ธาตุและวิตามิน อีกมากกว่า 20 ชนิด ป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยลดน้ำตาลในเส้นเลือด ช่วยบรรเทาโรคเบาหวาน ช่วยแก้เคล็ด แก้เหน็บชา มีธาตุเหล็ก 10.5 mg. ธาตุสังกะสี 17.2 mg. ธาตุทองแดง 2.4 mg. วิตามินอี 270 ug. เบต้าแคโรทีน 3.3 ug. ลูทีน6.26 ug (ต่อ 1 กก.)

+ จำหน่ายข้าวกล้องอินทรีย์ ข้าวกล้องหอมมะลิแดง มีประโยชน์ต่อร่างกาย
บำรุงประสาท ความจำ กระดูกและฟัน ป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยบรรเทาโรคเบาหวาน


-------------------------------------------------------------------------------------

ชื่อพันธุ์ กข-43 (SPR99007-22-1-2-2-1)
ชนิด ข้าวเจ้า ไม่ไวต่อช่วงแสง

คู่ผสม พันธุ์ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี (พันธุ์แม่) กับพันธุ์สุพรรณบุรี1 (พันธุ์พ่อ)
ประวัติพันธุ์

คัดเลือกได้จากการผสมข้ามพันธุ์ลูกผสมเดี่ยวระหว่างพันธุ์ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี (พันธุ์แม่) กับพันธุ์สุพรรณบุรี1 (พันธุ์พ่อ) ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี ในฤดูนาปรัง พ.ศ. 2542 คัดเลือกได้สายพันธุ์ SPR99007-22-1-2-2-1 ปลูกทดสอบผลผลิตในศูนย์วิจัยข้าวและในนาเกษตรกรตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปี 2551

การรับรองพันธุ์ คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว พิจารณารับรองพันธุ์ มื่อวันที่ 17 กันยายน 2552 ใช้ชื่อว่า ข้าวเจ้า กข-43

ลักษณะประจำพันธุ์

เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 95 วัน ปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม ความสูงประมาณ 103 ซม. ทรงกอตั้ง ต้นค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียวจาง ใบธงตั้งปานกลาง ข้าวเปลือกสีฟาง น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 30.35 กรัม ข้าวกล้องสีขาว ยาว 7.59 มิลลิเมตร รูปร่างเมล็ดยาวเรียว ท้องไข่น้อย มีปริมาณแอมิโลสต่ำ (18.82 %) คุณภาพของเมล็ดทางการหุงต้มรับประทาน ดี ข้าวสุก นุ่ม เหนียว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ(ไกล้เคียงข้าวหอมดอกมะลิ 105 ) มีระยะพักตัว 5 สัปดาห์ ผลผลิต ประมาณ 561 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น

1 อายุการเก็บเกี่ยวสั้น 95 วันปลูกโดยวิธีวิธีหว่านน้ำตม
2 คุณภาพของเมล็ดทางการหุงต้มรับประทาน ดี ข้าวสุกนุ่ม เหนียว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ(ไกล้เคียงข้าวหอมดอกมะลิ 105 )
3 ต้านทานปานกลางต่อโรคใบไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

ข้อควรระวัง เนื่องจากเป็นข้าวอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ไม่ควรปลูกร่วมกับข้าวที่มีอายุต่างกันมาก อาจจะเสียหายจากการทำลายของนกและหนูได้ ข้าวพันธุ์นี้มีลำต้นเล็ก การใส่ปุ๋ยอัตราสูงอาจทำให้ข้าวล้มได้ และข้าวพันธุ์นี้อ่อนแอต่อโรคไหม้ที่พิษณุโลก

พื้นที่แนะนำ พื้นที่นาชลประทานที่เกษตรกรมีศักยภาพต้องการเพิ่มผลผลิตด้วยการเพิ่มรอบการทำนาเป็น 3 ครั้งต่อปี พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานและเกษตรกรมีช่วงเวลาในการทำนาน้อยกว่าพื้นที่ปลูกข้าวอื่น ๆ และ/หรือพื้นที่ที่มีปัญหาข้าววัชพืชระบาด

---------------------------------------------------------------------------------------------



ข้าวสกุล 80

ข้าวเจ้าพันธุ์ กข-31 (ปทุมธานี 80)

• เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุ 111-118 วัน สูง 117 ซม. กอตั้งใบธงตั้งตรง ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ผลผลิตเฉลี่ย 738 กก./ไร่ สูงกว่า สุพรรณบุรี 1 ประมาณ 5 %

• ต้านทานเพลี้ยกระโดยหลังขาว ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคขอบใบแห้ง โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคเมล็ดด่าง

• ลักษณะเมล็ดยาวเรียว ขนาดและรูปร่างเมล็ดสม่ำเสมอ ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดี เป็นข้าวอมิโลสสูง 27-29% แต่แป้งสุกอ่อน หุงขึ้นหม้อดี

* ทนร้อนได้ดี ผลผลิตข้าวในหน้าร้อน ข้าวไม่ลีบ น้ำหนักดี ผลผลิตสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ *

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



พันธุ์ข้าวเจ้า กข-41

ประวัติ

พันธุ์ข้าว กข-41 ได้รับการรับรองพันธุ์เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552 จากสายพันธุ์ CNT96028-21-1-PSL-1-1 โดยการผสม 3 ทางระหว่าง ลูกผสมชั่วที่ 1 ของ CNT85059-27-1-3-2 กับสุพรรณบุรี 60 นำไปผสมกับ RP217-635-8 ที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทในฤดูนาปี 2539 ปลูกชั่วที่ 1-3 ที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท และชั่วที่ 4 – 6 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ตั้งแต่ฤดูนาปรัง 2541 ถึง ฤดูนาปรัง 2542 ปลูกศึกษาพันธุ์ฤดูนาปรัง 2543 และเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีฤดูนาปี 2544 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก


จากนั้นนำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก และศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทและลพบุรี ในฤดูนาปี 2545 ถึงฤดูนาปี 2550 นำเข้าเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ ในนาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก ลพบุรี สิงห์บุรี และชัยนาท ตั้งแต่ฤดูนาปี 2546 ถึง ฤดูนาปี 2550 ทดสอบผลผลิตการยอมรับของเกษตรกร ตั้งแต่ฤดูนาปี 2547 – 2550 ในนาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย อุตรดิตถ์ ชัยนาท และกำแพงเพชร ทดสอบเสถียรภาพผลผลิต ในฤดูนาปี 2550 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก แพร่ อุบลราชธานี สกลนคร สุรินทร์ ปทุมธานี สุพรรณบุรี และพัทลุง ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสงให้ผลผลิตสูงสุด 1,104 กิโลกรัมต่อไร่ ต่ำสุด 616 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อปลูกทุก 10 วัน ในรอบปี 2549 อายุ 105 วัน ความสูง 104 เซนติเมตร กอตั้ง ต้นแข็ง ใบสีเขียวตั้งตรง ใบธงตั้งตรง ยาว 35 เซนติเมตร กว้าง 1.6 เซนติเมตร ข้าวเปลือกสีฟาง เมล็ดเรียว ยาว 10.4 มิลลิเมตร ขนาดข้าวกล้อง ยาว 7.73 มิลลิเมตร ข้าวสารยาว 7.3 มิลลิเมตร มีปริมาณแอมิโลสสูง 27.15 เปอร์เซ็นต์ ความคงตัวของแป้งสุกอยู่ในระดับแป้งอ่อนระยะการไหลของแป้ง 77 มิลลิเมตร ข้าวเมื่อหุงสุก มีลักษณะร่วน และค่อนข้างแข็ง

ลักษณะเด่น

1 ผลผลิตสูง มีเสถียรภาพดี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 894 กิโลกรัมต่อ/ไร่ สูงกว่าสุพรรณบุรี 1 (795 กก./ไร่) พิษณุโลก 2 (820 กก./ไร่)
สุพรรณบุรี 3 (768 กก./ไร่) กข-29 (835 กก./ไร่) และชัยนาท 1 (812 กก./ไร่) คิดเป็นร้อยละ 23, 5, 13, 4 และ 20 ตามลำดับ

2 ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคไหม้

3 คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดี เป็นข้าวเจ้าเมล็ดยาว เรียว ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดี สามารถสีเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ได้


ข้อแนนำ

อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในระดับสูงเกินไปจะทำให้เกิดโรครุนแรง การปลูกในช่วงกลางเดือนกันยายน – พฤศจิกายน จะกระทบอากาศเย็น ทำให้ผลผลิตต่ำกว่าปกติ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



ปทุมธานี 1 (Pathum Thani 1)


ชื่อพันธุ์ - ปทุมธานี 1 (Pathum Thani 1)

ชนิด - ข้าวเจ้าหอม

คู่ผสม
- BKNA6-18-3-2 / PTT85061-86-3-2-1

ประวัติพันธุ์
- ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ BKNA6-18-3-2 กับสายพันธุ์ PTT85061-86-3-2-1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ในปี พ.ศ. 2533
- พ.ศ. 2534-2536 คัดเลือกพันธุ์แบบสืบตระกูลจากชั่วที่ 2-6 จนได้สายพันธุ์ PTT90071-93-8-1-1
- พ.ศ. 2536 ปลูกศึกษาพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี
- พ.ศ. 2537-2538 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี
- พ.ศ. 2539-2540 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี วิเคราะห์คุณภาพ เมล็ดทาง กายภาพและทางเคมี ทดสอบความต้านทานต่อโรค แมลง ศัตรูข้าว ที่สำคัญ
- พ.ศ. 2540-2541 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ และทดสอบเสถียรภาพการให้ผลผลิต
- พ.ศ. 2541-2542 ปลูกขยายพันธุ์เป็นข้าวพันธุ์ดัก

การรับรองพันธุ์ - คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็น พันธุ์รับรอง
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2543 และให้ชื่อว่า ปทุมธานี 1
ลักษณะประจำพันธุ์
- เป็นข้าวเจ้าหอม สูงประมาณ 104-133 เซนติเมตร
- เป็นพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 104-126 วัน
- ทรงกอตั้ง ใบสีเขียวมีขนกาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงยาว ทำมุม 45 องศา กับ ลำต้น รวงอยู่ใต้ใบธง
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีขน ส่วนมากมีหางสั้น
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3-4 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1x 7.6 x.7 มิลลิเมตร - ปริมาณอมิโลส 17.8%
- คุณภาพข้าวสุก นุ่มค่อนข้างเหนียว มีกลิ่นหอมอ่อน

ผลผลิต
- ประมาณ 650-774 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น
- ให้ผลผลิตสูง
- เป็นข้าวเจ้าหอมที่ไม่ไวต่อช่วงแสง
- คุณภาพเมล็ดคล้ายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105
- ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว
- ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง

ข้อควรระวัง
- ค่อนข้างไม่ต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียว โรคใบหงิก และโรคใบสีส้ม
- ไม่ควรใช้ปุ๋ยในอัตราสูง โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ถ้าใส่มากเกินไปทำให้ ฟางอ่อน ต้นข้าวล้ม และผลผลิตลดลง

พื้นที่แนะนำ
- พื้นที่นาชลประทานภาคกลาง



-------------------------------------------------------------------------------------

ชื่อพันธุ์ - สุพรรณบุรี 3 (Suphan Buri 3)
ชนิด - ข้าวเจ้า
คู่ผสม - Basmati370*3 / กข7 / ไออาร์68
ประวัติพันธุ์ - ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างลูกผสมกลับครั้งที่ 2 (BC2) ของ Basmati370*3/กข7 กับพันธุ์ ไออาร์68 ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี ในฤดูนาปรัง พ.ศ.2533 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPR90008-58-1-1-3
การรับรองพันธุ์ - คณะกรรมการบริหาร กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2549

ลักษณะประจำพันธุ์ - เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 114 เซนติเมตร (วัดจากรากต้นข้าวถึงปลายรวงข้าว)
- ไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว 105 - 120 วัน (ขึ้นอยู่กับวิธีการทำ โดยวิธีหว่านน้ำตมอายุ 105 วัน )
- ลักษณะทรงกอตั้ง ต้นแข็ง ใบสีเขียว ใบธงค่อนข้างตั้ง
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัว ประมาณ 5 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.47 x 1.83 มิลลิเมตร
- ท้องไข่น้อย
- ปริมาณอมิโลส 28.3%
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง ประเภทข้าวเสาไห้
ผลผลิต - ประมาณ 772 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะเด่น - ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ดีกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 1
- ต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง
- ให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 772 กิโลกรัมต่อไร่ ใกล้เคียงกับพันธุ์สุพรรณบุรี 1
ข้อควรระวัง - ไม่ต้านทานโรคใบสีส้ม และโรคใบจุดสีน้ำตาลในสภาพธรรมชาติ
พื้นที่แนะนำ - นาชลประทานภาคกลางที่ทำนาต่อเนื่อง และพื้นที่ที่มีปัญหาการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล



-------------------------------------------------------------------------------------------

ข้าวเจ้าหอมนิลที่ได้รับการพัฒนาจนได้เมล็ดข้าวกล้องเรียวยาว สีม่วงเข็ม เมื่อหุงสุกจะนุ่มเหนียว

ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวนาสวน ไม่ไวแสง ปลูกได้ตลอดทั้งปี แตกกอดี ความสูงของต้น 75cm สีของใบและลำต้นเขี้ยวเข้มอมม่วง
เมล็ดข้าวมีสีม่วงเข็ม อายุการเก็บเกี่ยว 95-100 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 500-700 กก/ไร่ ต้านทานโรคไหม้(Blast) ทนต่อสภาพแล้ง(Drought)
และดินเค็ม(Salinity)


คุณค่าทางอาหารของข้าวหอมนิล :
1). วิตามิน B1 B2 และ B รวม วิตามิน E
2). ธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง แคลเซียม โพแทสเซียม
(โดยเฉพาะธาตุเหล็กสูงกว่าข้าวกล้องทั่วไป 30 เท่า)
3). โปรตีน 12.5% (มากกว่าข้าวกล้องทั่วไป)
4). คาร์โบไฮเดรต (ต่ำกว่าข้าวกล้องทั่วไป จึงกินแล้วไม่อ้วน)
5). สารต้านอนุมูลอิสระ (ANTI-OXIDANT) สูงกว่าข้าวกล้องทั่วไป 8 เท่า
6). เส้นใยอาหาร (FIBER)

ประโยชน์ที่ได้รับ:
ข้าวกล้องหอมนิลอุดมไปด้วยธาตุเหล็กสูงกว่าข้าวทั่วไปถึง 30 เท่า มีแคลเซียมและวิตามิน B 1 B 2 และE สูงกว่าถึง 8 เท่า เป็นข้าวที่ไม่ได้สีเอาจมูกข้าวออกจึงมีแร่ธาตุและวิตามินอีกมากกว่า 20 ชนิด ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงป้องกันโรคโลหิตจางและเกล็ดเลือดต่ำ บำรุงประสาท ความจำ กระดูกและฟัน ป้องกันโรคเหน็บชา รับประทานข้าวหอมนิลช่วยลดการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด ช่วยบรรเทาโรคเบาหวาน ป้องกันโรคหัวใจ โรคมะเร็งลำไส้
ช่วยสร้างเซลล์ผิวหนังและมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

นอกจากนี้ ข้าวพันธุ์หอมนิลนี้ยังมี สารแอนโทไซยานิน ที่ช่วยทำให้เส้นผมดกดำ นุ่มสลวยไม่แตกปลาย ช่วยบำรุงรากผมให้แข็งแรง กระตุ้นให้ผมมีสีเข้มขึ้น ชะลอการเกิดผมหงอกก่อนวัย และธาตุเหล็กที่มีอยู่ในข้าวหอมนิลนี้ รับประทานเข้าไปในร่างกายสามารถดูดซึมได้เลย (ข้าวบางพันธุ์ แม้จะมีธาตุเหล็ก แต่รับประทานแล้วร่างกายไม่สามารถดูดซับก็ไม่มีประโยชน์)

* ข้อมูลเรื่องคุณค่าทางอาหารของข้าวหอมนิลจาก : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์ไบโอเทค

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ท่านที่สั่งซื้อพันธุ์ข้าวจากทางกลุ่มฯ จำนวนทุก ๑๐๐ ถัง ทางกลุ่ม สมนาคุณรายการดังนี้

๑. ฮอร์โมนเร่งต้น เร่งใบข้าวให้สมบูรณ์ ๑ กระติก ขนาด ๔ ลิตร ผลิตจากพืชหมัก

๒. ฮอร์โมนเร่งช่อดอก ให้คอรวงข้าวแข็งแรงไม่หักง่าย ผสมเกษรแล้วติดทุกเมล็ด ลดการลีบของเมล็ดข้าว ๑ กระติก ขนาด ๔ ลิตร ผลิตจากการหมัก รกหมู ไข่ นมสด และน้ำตาลสีลำ(10-1-10-10)

๓. สมุนไพรไล่แมลง ๑ กระติก ขนาด ๔ ลิตร ผลิตจากการนำพืชสมุนไพรมาหมักกับจุรีนทรีย์



------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



ผู้สนับสนุนโครงการพันธุ์ข้าวอินทรีย์ กลุ่มเกษตรอินทรีย์อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี)
1. วิทยาลัยเทคนิคนครนายก สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (สาขาปากพลี จังหวัดนครนายก) กระทรวงการคลัง
3. องค์การบริหารส่วนตำบลศรีมหาโพธิ กระทรวงมหาดไทย
4. สำนักงานเกษตรอำเภอศรีมหาโพธิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
5. โครงการประเทศสีเขียว



ท่านที่สนใจพันธุ์ปลอดสารพิษ เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์
ติดต่อ กลุ่มเกษตรอินทรีย์อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี
29 หมู่ 2 ต.สัมพันธ์ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี
(คุณจิรภัทร 087-5618838 หรือ คุณสมกมล 084-9468381 )


คุณสมกมล ลีเสย
ธนาคารกรุงไทย สาขาปราจีนบุรี
ออมทรัพย์ เลขบัญชี 213-031-490-2
ส่งข้อมูล หรือแจ้งที่จะให้ดำเนินการจัดส่งพันธุ์ข้าวมาที่
Email: samahapho.organic@gmail.com


*ในการจัดส่ง สามารถดำเนินการได้ดังนี้ 1.ทางสถานีรถไฟ 2. บริบัท พัสดุภัณฑ์ไทย จำกัด 3. รถบัส บขส * 4.บริบัทฯขนส่ง
หรือสะดวกมารับด้วยตัวเองได้ที่ อ.ศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี


------------------------------------------------------------------------------------------------------------