[ใหม่] ปวดท้องประจำเดือนรุนแรง เสี่ยง “ช็อกโกแลตซีสต์”

209 สัปดาห์ ที่แล้ว - กรุงเทพมหานคร - เขตพระนคร - คนดู 9
  • ปวดท้องประจำเดือนรุนแรง เสี่ยง “ช็อกโกแลตซีสต์” รูปที่ 1
รายละเอียด
ปวดท้องประจำเดือนรุนแรง เสี่ยง “ช็อกโกแลตซีสต์” (Chocolate Cyst) หรือโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ ทางการแพทย์เชื่อว่าเกิดจากการที่เลือดประจำเดือนไหลย้อนกลับ คือแทนที่เลือดจะไหลออกมาทางช่องคลอดตามปกติ แต่กลับมีประจำเดือนส่วนหนึ่งไหลย้อนไปทางหลอดมดลูกเข้าไปในช่องท้องแล้วไปฝังตัวที่รังไข่จนทำให้เกิดเป็นถุงน้ำ หรือถุงที่มีเลือดคั่งและไปเจริญเติบโตในอวัยวะต่างๆ เช่น อุ้งเชิงกราน ท่อรังไข่ ลำไส้ช่องคลอด มดลูก กระเพาะปัสสาวะ ผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เพียงแต่จะแสดงอาการ หรือส่งผลต่อร่างกายมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ถึงแม้จะไม่ใช่โรคร้ายที่อันตรายถึงชีวิต แต่ก็สร้างความทรมานให้สาวๆ ที่เป็นโรคนี้ได้ไม่น้อย

สาเหตุของช็อกโกแลตซีสต์
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจาก ประจำเดือนไหลย้อนกลับไปในรังไข่ (Retrograde Menstruation) เพราะในสภาวะปกติของแต่ละเดือนจะมีการสร้างเยื่อบุขึ้นในมดลูก เพื่อรองรับไข่ที่จะมาฝังตัว แต่เมื่อไม่มีการฝังตัวก็จะทำให้เยื่อบุที่ถูกสร้างขึ้นหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือนทางช่องคลอด แต่ในกรณีของการเกิดช็อกโกแลตซีสต์ การบีบตัวของมดลูกบางจังหวะทำให้ประจำเดือนไหลย้อนไปทางปลายท่อนำไข่แทนที่จะไหลลงข้างล่างทางช่องคลอดเพียงทางเดียว จึงทำให้เซลล์เยื่อบุมดลูกไปฝังตัวและเจริญเติบโตในรังไข่จนเกิดเป็นถุงน้ำขึ้น เมื่อเป็นประจำเดือน ถุงน้ำดังกล่าวก็จะมีเลือดออกในถุงเหมือนเยื่อบุโพรงมดลูกลอกตัว ถุงน้ำจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และมีลักษณะเป็นเลือดเก่า ๆ อยู่ภายใน

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายข้อสันนิษฐานที่พยายามอธิบายสาเหตุการเกิดของช็อกโกแลตซีสต์ เช่น เยื่อบุช่องท้องเกิดการระคายเคือง (Transformation Of Peritoneal Cells) จากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหรือระบบภูมิคุ้มกัน การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน (Embryonic Cell Transformation) จากอิทธิพลของฮอร์โมน แผลหลังผ่าตัด (Surgical Scar Implantation) หรือ ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System Disorder)
ทั้งนี้ ยังพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่พัฒนาให้เกิดช็อกโกแลตซีสต์ขึ้นในบุคคลบางกลุ่มได้ง่าย โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ในช่วงอายุ 25-40 ปี มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้ ไม่เคยมีบุตรมาก่อน หรือมีรอบเดือนผิดปกติ เช่น ประจำเดือนมามากและมีระยะเวลานานกว่าปกติ รอบเดือนสั้น เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกตั้งแต่อายุยังน้อย
อ่านเพิ่มเติม ได้ที่ สุขภาพ.cc