[ใหม่] หลักสูตร Professional Real Network : Design, Install and Configuration

3 สัปดาห์ ที่แล้ว - นนทบุรี - ปากเกร็ด - คนดู 42

8,600 ฿

  • หลักสูตร Professional Real Network : Design, Install and Configuration รูปที่ 1
  • หลักสูตร Professional Real Network : Design, Install and Configuration รูปที่ 2
  • หลักสูตร Professional Real Network : Design, Install and Configuration รูปที่ 3
  • หลักสูตร Professional Real Network : Design, Install and Configuration รูปที่ 4
รายละเอียด
หลักสูตร Professional Real Network : Design, Install and Configuration
Professional Real Network : Design, Install and Configuration (3 Day)

การออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบมืออาชีพเพื่อใช้งานจริงในระดับองค์กร
     หลักสูตรที่ออกแบบมาสำหรับผู้ต้องการวางระบบเครือข่ายในระดับองค์กร (ตั้งแต่ขนาดกลางถึงใหญ่) ได้ใช้เป็นแนวทางเพื่อให้ทราบว่าต้องทำอย่างไรบ้าง จึงจะทำให้การวางระบบมีโครงสร้างที่ถูกต้อง ได้มาตรฐาน ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และรองรับการขยายเครือข่ายได้ง่าย
     การเรียนส่วนใหญ่จะเน้นการทำ LAB อย่างเป็นขั้นตอนโดยใช้อุปกรณ์จริง และเป็นยี่ห้อที่ได้รับความนิยม (CISCO) โดยผู้เรียนจะได้เรียนรู้แบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่รู้จักการออกแบบโครงสร้างของระบบที่ได้มาตรฐาน, การเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการทำงาน, กำหนดค่าการคอนฟิกให้กับอุปกรณ์หลักของระบบเครือข่ายได้อย่างถูกต้อง ทั้ง Router, Firewall, L3 Switch, L2 Switch และอื่นๆ,  ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งยังเน้นความเข้าใจเพื่อให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ในการทำงานได้จริง และนำไปต่อยอดการเรียนรู้ในระดับสูงได้อย่างรวดเร็ว
     สำหรับผู้เรียนที่ผ่านหลักสูตร NS01 หรือมีพื้นฐานการใช้งานเครือข่ายมาบ้างแล้ว หลักสูตรนี้จะเป็นการต่อยอดและลงรายละเอียดในเรื่องสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงการติดตั้งระบบเครือข่ายในระดับองค์กรได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล ส่งผลการทำงานของระบบที่เราติดตั้ง มีประสิทธิภาพที่ดี ง่ายต่อการตรวจสอบและแก้ไขปัญหา
 หัวข้อการเรียนมีดังนี้
1. หลักการออกแบบโครงสร้างของระบบเครือข่ายภายในเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและง่ายต่อการตรวจสอบ หรือแก้ปัญหา
2. การเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับขนาดของระบบเครือข่ายและประสิทธิภาพการทำงานที่ต้องการ
3. ตำแหน่งของการวางอุปกรณ์เครือข่ายให้เหมาะสมกับการทำงานและประเภทของอุปกรณ์เหล่านั้น
4. การวางตำแหน่งของอุปกรณ์ Layer 3 เช่น Router, Firewall, L3 Switch, Load Balance, VPN หรือ IPS (Intrusion Prevention) เพื่อให้การเชื่อมโยงเครือข่ายทำได้ง่าย และมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
5. การวางตำหน่งของอุปกรณ์ Layer 2 คือ Core Switch (L3), Distribution Switch (L2) และ Access Switch เพื่อลดปัญหาการทำงานที่ไม่เป็นระเบียบของระบบเครือข่าย และความล่าช้าในการรับส่งข้อมูล
6. การคำนวณ Subnet เพื่อแบ่ง IP และจำนวนเครือข่ายให้เหมาะสมกับระบบที่ได้ออกแบบไว้
7. การคอนฟิก Router/Firewall เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
8. การกำหนดค่าการทำงานของ Load Balance เพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ตสองเส้นพร้อมกัน ทั้งเพิ่มความเร็วให้กับการใช้งานอินเทอร์เน็ต และรับประกันการใช้งานได้อย่างต่อเนื่องหากเส้นใดเส้นหนึ่งมีปัญหา
9. หลักการสร้าง VLAN บน L3 และ L2 Switch เพื่อจัดระเบียบเครือข่ายให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยมากขึ้น
10. การสร้าง VLAN ทั้งพอร์ต Trunk และ Access บน L3 Switch
11. การสร้าง VLAN ทั้งพอร์ต Turnk และ Access บน L2 Switch
12. การทำ Inter VLAN เพื่อกำหนดให้เครื่อง Client และ Server ที่อยู่ต่าง VLAN สามารถติดต่อหากันได้ หรือบล็อกบาง VLAN ไม่ให้ติดต่อกัน
13. การสร้างพอร์ต Link aggregation (LAG) รวมความเร็วของพอร์ตบน Switch เพื่อเพิ่มความเร็วการรับส่งข้อมูลให้กับพอร์ต Trunk ลดปัญหาคอขวดของจุดสำคัญในการเชื่อมต่อ VLAN
14. เรียนรู้และเปิดการทำงานของ Spanning Tree เพื่อตรวจเช็คและป้องกันการ Loop บน Switch
15. การเปิดใช้ความสามารถด้าน Security เพื่อกำหนดค่าความปลอดภัยของ Switch
16. การกำหนดค่า Quality of Service (QoS) เพื่อกำหนดความสำคัญและความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลของแต่ละพอร์ตบน Switch เพื่อทำให้โซนสำคัญต่างๆ ของเครือข่ายภายในทำงานได้รวดเร็วขึ้น
17. การจัดการ DHCP Server เพื่อแจก IP ให้กับเครื่อง Client ที่อยู่ในแต่ละ VLAN ทั้งแบบ Static และ Dynamic
18. การควบคุมและจัดสรรความเร็ว (Bandwidth) ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตให้กับ User ได้อย่างเหมาะสม ลดปัญหาเรื่องการใช้งานอินเทอร์เน็ตล่าช้า
19. การสร้างกฏ Access Rules ใน Firewall เพื่อกำหนดนโยบายการเข้าถึงเครื่อง Server หรือเครือข่ายภายในต่างๆ ที่สำคัญ เพื่อความปลอดภัยจากภักคุกคามต่างๆ ทั้งจากการติดไวรัส ช่องโหว่ที่หลุดรอดออกไป หรือการโจมตีของแฮกเกอร์
20. การเปิดช่องทางให้เครื่องภายนอกสามารถเข้ามาใช้บริการ Services ต่างๆ ของเครื่อง Server ที่อยู่ภายในได้ อย่างปลอดภัย เช่น การทำ Static NAT, Port Forwarding, Port Triggering
21. การกำหนดค่า Application Control และ Web Content Filter เพื่อควบคุมและบล็อกการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของ User บางคน เพื่อไม่ให้เรียกดูหรือใช้งานเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม (บล็อกเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Facebook, Youtube, BitTorrent เกมออนไลน์ การพนัน หรือเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมทางเพศ เป็นต้น
22. การเชื่อมต่อเครือข่ายเข้ามาทำงานในองค์กรจากที่ไหนก็ได้ทั่วโลกผ่านระบบ VPN แบบ Client To Site
23. การเชื่อมต่อเครือข่ายของแต่ละองค์กรที่อยู่ต่างสาขาระยะทางไกลเข้าด้วยกันผ่านระบบ VPN แบบ Site To Site
24. การคอนฟิก Static Route เพื่อกำหนดเส้นทางการเชื่อมต่อเครือข่ายทุกๆ เส้นทางด้วยตัวเองเพื่อให้แต่ละองค์กรสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้
25. การคอนฟิก Dynamic Route เพื่อให้แต่ละองค์กรสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ โดยให้ Router เรียนรู้เส้นทางการเชื่อมต่อเครือข่ายให้โดยอัตโนมัติ
26. การกำหนดค่าให้ส่ง Log จากอุปกรณ์ต่างๆ เช่น Router หรือ Switch ไปเก็บไว้ที่ Syslog Server ตามพ.ร.บ คอมพิวเตอร์
หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร เรียนแล้วจะได้อะไร?
1. ผู้ที่ต้องการเรียนรู้ขั้นตอนการวางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระดับองค์กรแบบครบวงจร ทั้งขนาดเล็กและกลางที่ได้มาตรฐานสากล และสามารถต่อยอดไปใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ได้
2. ผู้ที่ต้องการออกแบบระบบเครือข่ายได้อย่างถูกต้อง สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด โดยมีความรู้ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ
3. ผู้ที่ต้องการหลักการวางระบบเครือข่ายและเครื่อง Server ที่สำคัญต่างๆ ให้มีความปลอดภัยจากภัยคุกคามต่างๆ เช่น ไวรัส การหลอกลวง หรือแฮกเกอร์ ที่โจมตีมาจากทั้งเครือข่ายภายในและเครือข่ายภายนอก
4. ผู้ที่ต้องการควบคุมพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของพนักงานหรือผู้ใช้ภายในองค์กรให้เป็นระเบียบ เช่น ไม่ให้เข้าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม หรือบล็อกการใช้งานโปรแกรมต่างๆ ที่ไม่ปลอดภัย เช่น ไม่ให้ใช้งาน Facebook, จำกัดเวลาในการดูหนังฟังเพลงออนไลน์ หรือไม่ให้ดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆ ด้วยโปรแกรม BitTorrent เป็นต้น
5. ผู้ที่ต้องการแนวทางในการแก้ไขปัญหาการทำงานของระบบเครือข่ายต่างๆ ที่มักพบได้บ่อย เช่น การรับส่งข้อมูลที่ล่าช้า, ระบบล่มโดยไม่ทราบสาเหตุ หรืออินเทอร์เน็ตหลุดบ่อย เป็นต้น
พื้นฐานของผู้เรียน
      ผู้เรียนควรผ่านหลักสูตร Basic Network (NS01) หรือมีพื้นฐานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาบ้างแล้ว เช่น มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของ TCP, กำหนดค่า IP Address ให้กับเครื่องต่างๆ ในเน็ตเวิร์กได้อย่างถูกต้อง หรือสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเน็ตเวิร์กเบื้องต้นได้

สถานที่อบรม อาคารนาริตะ ชั้น 7 ห้อง N007005 เมืองทองธานี


หลักสูตรเน็ตเวิร์ก, อบรมSystem Admin, อบรมการจัดการระบบเครือข่ายคอมฯ, หลักสูตรการจัดการระบบVLan