[ใหม่] อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ไฟอราม

1 สัปดาห์ ที่แล้ว - มหาสารคาม - กันทรวิชัย - คนดู 61

1,500 ฿

  • อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ไฟอราม รูปที่ 1
รายละเอียด
ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System)
1. ความต้องการทั่วไป
ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System) ติดตั้งเพื่อใช้ในการตรวจจับควันและความร้อนที่เกิดจากเหตุเพลิงไหม้ และแจ้งเตือนแบบอัตโนมัติ โดยที่สัญญาณแจ้งเตือนจะระบุตำแหน่งที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่แผงควบคุม และแสดงข้อความเพื่อตอบสนองสัญญาณเตือนนั้นๆ และ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและความเหมาะสมสูงสุด อุปกรณ์หลัก และอุปกรณ์ตรวจจับ ควรจะเป็นเป็นผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตเดียวกันทั้งระบบ เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้จะต้องประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ อย่างน้อยดังต่อไปนี้
- ตู้ควบคุมระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm Control Panel)
- อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector)
- อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector)
- อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ด้วยมือ (Manual Station)
- อุปกรณ์สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Signaling Devices)
- อุปกรณ์ประกอบอื่นๆ ที่ใช้ร่วมกับระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของระบบ

2. มาตรฐาน
อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ และ อุปกรณ์ประกอบที่ใช้ในระบบ ต้องได้รับรองตามมาตรฐาน Vds หรือ ผ่านการรับรองมาตรฐานจากยุโรป (EN54) หรือ ผ่านการรับรองตามมาตรฐาน Underwriters Laboratories (UL) สายสัญญาณและอุปกรณ์การเดินสาย พร้อมทั้งวิธีการติดตั้งต้องสอดคล้องกับ มาตรฐานระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.)

3. การทำงานของระบบ
การทำงานของระบบ ให้เป็นดังนี้ เมื่อมีการแจ้งเหตุโดย Manual Station หรือการตรวจจับสัญญาณจาก Detectors ที่ชั้นใดหรือโซนใดๆ ระบบจะแจ้งสัญญาณไปที่แผงควบคุม พร้อมส่งเสียงสัญญาณเตือนเพื่อให้เจ้าหน้าที่รับทราบและกดสวิตช์ Acknowledge ภายในระยะเวลาที่ตั้งค่าไว้ (30-120 วินาที ซึ่งสามารถตั้งค่าเวลาได้) เพื่อทำการหน่วงเวลาการแจ้งเตือนเพิ่มเติม (1-8 นาที ซึ่งสามารถตั้งค่าเวลาได้) สำหรับตรวจสอบสถานที่ ที่มีการตรวจจับสัญญาณจาก Detectors ที่ชั้นใดหรือโซนใดๆ ซึ่งเสียงสัญญาณที่แผงควบคุมจะเงียบ แต่หลอดไฟ จะยังคงติดสว่างอยู่จนกว่าระบบจะกลับสู่เหตุการณ์ปกติ แต่ถ้าไม่มีผู้ใดกดสวิตช์ Acknowledge ภายในระยะเวลาที่ตั้งไว้ ให้ระบบส่งสัญญาณเสียงเตือนทั่วอาคาร (General Alarm) และการส่งสัญญาณเสียงเตือนทั่วอาคารนี้สามารถกระทำได้โดยตรง เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ไปตรวจสอบสถานที่แล้ว โดย การสั่งงานที่แผงควบคุม โดยกดปุ่ม Evac ที่แผงควบคุม ซึ่งเหตุการณ์และข้อมูลต่างๆ จะทำการบันทึกเข้ายังหน่วยความจำของระบบ

4. คุณสมบัติด้านเทคนิคของระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System)
4.1 ตู้ควบคุมระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm Control Panel)
- ใช้งานในระบบ Conventional Zone ได้ 2, 4 หรือ 8 โซน
- ต้องสามารถใช้งานได้ขณะไฟฟ้าดับไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง และมีกำลังพอใช้ส่งสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ได้นานไม่น้อยกว่า 15 นาที
- ระบบสามารถเชื่อมต่อกับ Graphic Annunciator
- กรณีหากเกิดสายสัญญาณขาด หรือลัดวงจร แผงวงจรภายในชำรุด สามารถแจ้งเตือนเหตุเสีย Trouble ไปยังแผงควบคุมพร้อมทั้งส่งสัญญาณเตือน
- มีไฟแสดงสถานะว่าระบบเกิด Alarm LED สีแดง
- สามารถหน่วงเวลาสัญญาณเตือนได้ 3 ช่วงเวลาคือ 30,60,120 วินาที
- ตั้งระดับการทำงานของเจ้าหน้าที่ได้ 3 ระดับ สำหรับเจ้าหน้าที่ทั่วไปและระดับหัวหน้าควบคุมศูนย์
- โปรแกรมใช้งานง่ายและสะดวกในการตรวจสอบ
4.2 อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector)
- อุปกรณ์ตรวจจับควันแบบธรรมดา (Conventional Smoke Detectors) เป็นชนิด Photoelectric การตรวจจับควัน เป็นเป็นการตรวจจับแบบ ลำแสง Scattered-Light Method มีดวงไฟ LED แสดงการทำงานในตัวที่สามารถมองเห็นได้ 360 องศา ครอบคลุมพื้นที่ตรวจจับได้ไม่น้อยกว่า 120 ตารางเมตร สามารถติดตั้งสูงจากพื้นได้ถึง 16 เมตร มีฐาน (Base) สำหรับถอดหัวอุปกรณ์ออก เพื่อทำความสะอาดได้
- อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดลำแสง (Beam Projector Detector) เป็นอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดลำแสง (Infrared) ซึ่งประกอบไปด้วยอุปกรณ์ตัวส่งสัญญาณและตัวรับสัญญาณ มี LED แสดงสถานะการทำงานของอุปกรณ์บนอุปกรณ์ตัวรับสัญญาณ และ สามารถเชื่อมต่อแผงควบคุม (Remote indicator plate) เพื่อแสดงสถานะการทำงานของตัวอุปกรณ์ (LED) และใช้ทดสอบแรงดันไฟฟ้า ระยะห่างในการติดตั้งอุปกรณ์อุปกรณ์ตัวส่งสัญญาณและตัวรับสัญญาณ ต้องไม่น้อยกว่า 100 เมตร สามารถปรับระดับค่า Sensitivity ได้ไม่น้อยกว่า 6 ระดับหรือเทียบเท่า

4.3 อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector)
- อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนแบบธรรมดา (Conventional Heat Detector) เป็นชนิดผสม (Rate of Rise and Fixed Temperature) แบบตรวจจับอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิสูงเกินกำหนด (Rate of Rised Temperature) และอุณหภูมิเมื่อสูงไม่น้อยกว่า 54 องศาเซลเซียส มีดวงไฟ LED แสดงการทำงานในตัวที่สามารถมองเห็นได้ 360 องศา และครอบคลุมพื้นที่ตรวจจับได้ไม่น้อยกว่า 40 ตารางเมตร สามารถติดตั้งสูงจากพื้นได้ถึง 6 เมตร มีฐาน (Base) สำหรับถอดหัวอุปกรณ์ออก เพื่อทำความสะอาดได้

4.4 อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ด้วยมือ (Manual Station)
- อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ด้วยมือแบบธรรมดา (Manual Call Station) เป็นชนิดทุบกระจกแตก แล้วกดปุ่มสวิทช์ เพื่อแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ ด้วยบุคคล มีไฟ LED เตือนเมื่อทำการกดปุ่ม เพื่อแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ หรือ ชนิดดึงคันโยกเพื่อแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ ด้วยบุคคล

4.5 อุปกรณ์สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Signaling Devices)
- อุปกรณ์ส่งสัญญาณแจ้งเตือนด้วยเสียง (Audible Alarm Device) เป็นกระดิ่งทำด้วยโลหะหล่อ ทาสีแดง แบบติดผนัง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 6 นิ้ว ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ทำงานด้วยแรงดันไฟฟ้าตรง 24 โวลท์ สามารถให้เสียงดังไม่น้อยกว่า 90 เดซิเบล
- อุปกรณ์ส่งสัญญาณแจ้งเตือนด้วยเสียงและแสง ( Horn and Strobe appliance) สำหรับใช้ภายในอาคารวัสดุทำจากพลาสติกขึ้นรูปพร้อมไฟซีนอนและเลนส์ Lexan สัญญาณเสียงเตือนอัคคีภัยสามารถปรับตั้งการทำงานเป็นแบบ ต่อเนื่องคงที่ (Continuous) (1flash/second minimum) หรือแบบ (Code3 temporal pattern) ได้