[ใหม่] รับงานเซ็นแบบห้องพ่นสี สำหรับยื่นขออนุญาตกรมโรงงาน

58 สัปดาห์ ที่แล้ว - กรุงเทพมหานคร - เขตบึงกุ่ม - คนดู 13

100,000 ฿

  • รับงานเซ็นแบบห้องพ่นสี สำหรับยื่นขออนุญาตกรมโรงงาน รูปที่ 1
รายละเอียด
บริษัท เอทูที ฮีทเตอร์ ดีไซน์ จำกัด
Tel : 02-943-9116, 081-433-0332, 089-681-1431 Fax : 02-943-9117
ID Line : tom_a2t
E-mail : a2t.design7@gmail.com , sales@a2t-design.com
http://www.a2tdesign.com , http://www.a2t-design.com
การออกแบบห้องพ่นสี
ห้องพ่นสี มีความสำคัญอย่างมากในอุตสาหกรรมงานพ่นสี ทั้งเพื่อคุณภาพของชิ้นงาน, ความปลอดภัยของคนงาน รวมทั้ง การลดปริมาณมลพิษต่างๆ สู่สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ห้องพ่นสีต้องได้รับการออกแบบที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักการ เพื่อให้ห้องพ่นสีสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด โดยวัตถุประสงค์หลักๆ ของห้องพ่นสีมีดังนี้
- ป้องกันฝุ่นละอองจากภายนอก เข้ามาติดผิวหน้าสีของชิ้นงานขณะพ่น
- ป้องกันการฟุ้งกระจายของละอองสีขณะพ่นสี
- ทำการดักละอองสีที่ไม่ติดชิ้นงาน ให้อยู่ในที่จำกัด
- ทำการซับกลิ่นสี, กลิ่นทินเนอร์ และสารระเหยอินทรีย์ต่างๆ ก่อนปล่อยสู่บรรยากาศภายนอก
หลักเกณฑ์ ในการออกแบบห้องพ่นสีหลักๆ มีดังนี้
1. ความสมดุลของอากาศที่เข้าและอากาศที่ถูกดูดออกต้องสมดุลกัน จะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้อย่างสะดวกสบาย โดยสามารถทำได้โดย
- การคำนวณกำลังของชุดพัดลมสำหรับดูดเข้า และกำลังของชุดพัดลมดูดออกให้สมดุลกัน และเหมาะสมกับปริมาตรของห้องพ่นสี โดยมีการใช้อินเวอร์เตอร์ ( Inverter control ) ช่วยในการควบคุมอีกที
- การคำนวณพื้นที่หน้าตัดของระบบกรองอากาศขาเข้า และพื้นที่หน้าตัดระบบกรองอากาศขาออก
2. ระบบกรองอากาศ ต้องมีทั้งระบบกรองอากาศก่อนเข้าห้องพ่นสี ( Pre Filter ) และระบบกรองอากาศก่อนปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งมีตัวเลือกในการใช้งานได้หลายแบบ เช่น ฟิลเตอร์ดักละอองสี ( Paint Arrestor ) ฟิลเตอร์ซับกลิ่น ( Carbon Filter ) ผงถ่านกัมมันต์ ( Activated carbon ) และ ม่านน้ำไหล ( Water curtain ) เป็นต้น
3. ขนาดและความสูงของปล่องท่อทางออก ต้องได้รับการออกแบบที่ถูกต้องและเหมาะสม
เพื่อป้องกันลมตีย้อนกลับห้องพ่น ทำให้เกิดการฟุ้งของละอองสี
- ขนาดของปล่องที่เหมาะสม กำหนดจากความเร็วลม โดยความเร็วลมต่ำสุดของอากาศภายในปล่องต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 1.5 เท่า ของความเร็วลมที่ปลายปล่องท่อทางออก โดยคำนวณพื้นที่หน้าตัดจาก A = Q/V
- ความสูงของปล่องท่อทางออก กำหนดค่าได้จากค่าความเข้มข้นที่ระดับผิวพื้นที่ จะต้องไม่เกินกว่าค่าความเริ่มต้นที่จะได้กลิ่น แต่ในทางปฏิบัติจะกำหนดความสูงของปล่องให้พ้นจากสิ่งปลูกสร้างโดยรอบ