[ใหม่] สารโพลีเมอร์ ปลูกต้นไม้ให้พืชทนแล้ง ทดแทนระบบน้ำหยด

423 สัปดาห์ ที่แล้ว - กรุงเทพมหานคร - คนดู 1,642

400 ฿

  • สารโพลีเมอร์ ปลูกต้นไม้ให้พืชทนแล้ง ทดแทนระบบน้ำหยด รูปที่ 1
  • สารโพลีเมอร์ ปลูกต้นไม้ให้พืชทนแล้ง ทดแทนระบบน้ำหยด รูปที่ 3
รายละเอียด

 

โพลิเมอร์ Alcosorb หรือ "สารอุ้มน้ำ"ช่วยพืชทนแล้งและโตเร็ว

 

             นวัตกรรมใหม่ที่สามารถนำมาใช้การปลูกยางพารา,ปาล์ม,มันสำปะหลัง,พืชสวนและพืชอื่น ๆ มากมายหลายชนิดในเขตพื้นที่แห้งแล้งไม่ว่าภาคกลาง-เหนือ-อีสาน-ใต้ ด้วยคุณสมบัติในการดูดเก็บน้ำได้มากไม่น้อยกว่า 200 เท่า จึงทำให้พื้นดินมีความชุ่มชื้น เมื่อแห้งสนิทมีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว เมื่อเปียกน้ำจะพองออกโดยอุ้มน้ำแล้วมีลักษณะแบบวุ้น เมื่อโพลีเมอร์แห้งสัมผัสกับน้ำ โมเลกุลของน้ำสามารถผ่านเข้าไปได้ ขนาดของโพลีเมอร์จะขยายขึ้นตามปริมาณน้ำที่เข้าไปอยู่ภายใน โดยปกติจะสามารถอุ้มน้ำได้ 300 - 400 เท่าของน้ำหนักแห้ง

        การดูดน้ำจะเป็นไปอย่างรวดเร็วใน 5 นาทีแรกจากนั้นจะค่อย ๆ ดูดน้ำอย่างช้า ๆ ถ้ามีปริมาณน้ำมากเกินพอโพลีเมอร์จะดูดน้ำเข้าไป จนถึงจุดอิ่มตัวหลังจากนั้นจะไม่ดูดน้ำอีกไม่ว่าจะทิ้งไว้นานเท่าไร โพลีเมอร์จะดูดน้ำได้มากที่สุด เมื่อเป็นน้ำบริสุทธิ์และจะดูดได้น้อยลงเมื่อมีเกลือ หินปูน หรือมีสภาพเป็นกรดด่าง
 

       โพลีเมอร์(สารอุ้มน้ำ)มีแรงยึดน้ำที่อุ้มไว้ต่ำกว่าแรงดึงจากพืช รากสามารถเจริญ แทงผ่านเข้าไปในโพลีเมอร์เปียกได้ปรุโปร่งราก สามารถดึงดูดน้ำออกจากโพลีเมอร์ได้จนน้ำหยดสุดท้าย โดยโพลีเมอร์ไม่สามารถดึงน้ำออกจากพืชได้เลย โพลีเมอร์เปียกจะถูกดูดน้ำไปเรื่อย ๆ จนแห้งและยุบลงจนเหลือขนาดเล็กนิดเดียว ซึ่งกลายเป็นโพรงที่ว่างอยู่ในพื้นดิน ถ้ารดน้ำหรือฝนตกอีก น้ำจะเข้าไปในโพรงนี้ โพลีเมอร์จะเปียกและอุ้มน้ำได้อย่างรวดเร็ว ถ้ามีน้ำมากเกินความสามารถที่จะอุ้มน้ำได้ น้ำส่วนเกินก็จะไหลซึมลงดินตามปกติ
       

        การใช้โพลีเมอร์(สารอุ้มน้ำ) รองก้นหลุมก่อนปลูกกล้านั้น ทำให้กล้าที่นำไปปลูกได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอ น้ำช่วยในการละลายแร่ธาตุอาหารสำหรับพืช น้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญในขบวนการสังเคราะห์แสง การลำเลียงอาหาร กล้าไม้จึงมีอัตราการรอดตายสูงสามารถตั้งตัวได้เร็ว และเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง  เพราะน้ำฝนที่ตกลงมาบางส่วนจะถูกกักเก็บไว้ ไม่ไหลซึมไปโดยโพลีเมอร์ บริเวณที่มีโพลีเมอร์อยู่จะมีความชื้นอยู่ตลอดเวลา จุลินทรีย์จะเกาะติดกับอนุภาคดินมีลักษณะเป็นเมือกบาง ๆ ช่วยอุ้มน้ำได้ส่วนหนึ่ง เมื่อใช้ไประยะหนึ่ง ดินบริเวณนี้จะค่อยๆ อุ้มน้ำได้ดีขึ้นเองเพราะจุลินทรีย์ เนื่องจากกิจกรรมของจุลินทรีย์เป็นไปด้วยดี มีผลพลอยได้เป็นสารฮิวมิค แอซิด กระตุ้นการเจริญของรากและทำให้ดินร่วนซุย โพลีเมอร์จะมีอายุการใช้งานประมาณ 5 ปี จุลินทรีย์จะค่อย ๆ ย่อยสลายโพลีเมอร์ให้แตกตัวไปเอง โดยไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม

      

       การใช้โพลีเมอร์ ในช่วงฤดูฝนอาจใช้โพลีเมอร์แห้งหยอดลงไป หว่านให้กระจายหรือเคล้ากับดินก้นหลุมประมาณ 2.5 – 5 กรัมต่อหลุม เมื่อฝนตกโพลีเมอร์ก็จะอุ้มน้ำไว้ และพองออกโดยเนื้อโพลีเมอร์แทรกปนเข้าไปอยู่ในเนื้อดิน หากเป็นระยะฝน ทิ้งช่วงก็อาจใช้โพลีเมอร์เปียกแทนรองก้นหลุม หรือใส่ข้าง ๆ ต้นด้วยก็ได้ ใช้ ประมาณ 1 ลิตรต่อต้น วิธีนี้ทำให้พืชที่ปลูก มีน้ำกิน น้ำใช้ในบริเวณรากในทันที โดยน้ำไม่ซึมหายไปไหน

     สำหรับต้นทุนโพลีเมอร์ 1 กิโลกรัม ปลูกยางพารา(พืชไร่)ได้ 200-400 ต้น กับราคา 400 บาท/กก.นับว่าคุ้มค่ามาก ๆ กับการต้องมาปลูกซ่อมที่ต้นยางตายจากการขาดน้ำในหน้าแล้ง

สอบถามเพิ่มเติม ติดต่อ 084-5723692 ประมาณ