[ใหม่] บ้านโคมลอย จำหน่ายโคมลอยล้านนา 089-8810488 ปล่อยโคมเพื่อสเดาะเคราะห์ รับโชค สร้างบรรยากาศ

513 สัปดาห์ ที่แล้ว - ปทุมธานี - คนดู 668
บ้านโคมลอย กรุงเทพฯ    
ขาย ปลีก/ขายส่ง โคมลอยล้านนา โคมยี่เป็ง ปล่อยโคมเพื่อสเดาะเคราะห์ รับโชค สร้างบรรยากาศ กิจกรรมเพื่อความสามัคคีในครอบครัว ในหมู่คณะ
สอบถามรายละเอียด โทร.02-5205154,089-8810488

 

 
วิธีการปล่อยโคมลอยยี่เป็ง

 

การปล่อยโคมลอย ประเพณีความเชื่อของชาวล้านนา ลักษณะความเชื่อ ชาว บ้านทั่วไปเชื่อว่าการปล่อยโคมลอยเป็นการปล่อยเคราะห์กรรมสิ่งที่ไม่ดี งามให้ลอยออกไปจากชีวิต และปล่อยให้ลอยขึ้นไปบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์
พิธีกรรม ๑. การทำโคมลอย โคม ลอยทำด้วยกระดาษว่าว มีลักษณะสี่เหลี่ยมเรียกว่า "แบบกล่องข้าว" ลักษณะกลมเรียกว่า"ฮ้งมดส้ม" (รังมดแดง) ขนาดเล็กใช้กระดาษ ๓๖ แผ่น ขนาดกลาง ๗๒ แผ่น ขนาดใหญ่เกินกว่า ๗๒ แผ่นขึ้นไปและประกอบด้วยหางไม่น้อยกว่า ๖ ชิ้น ยาวขนาด ๕-๑๐ เมตร ๒. การปล่อยโคมลอย ก่อน จะปล่อยโคมลอย รมด้วยควันไฟให้พองก่อนแล้วจึงปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เมื่อขึ้นจากพื้นสูงพอสมควรแล้วจึงปล่อยหางซึ่งขมวดอยู่ให้คลี่ยาวออกมา พร้อมกับกระดาษรุ้งสีต่างๆ และกระดาษเงิน ทองลอยออกมาจากโคม ของใครขึ้นได้สูงและสวย และมีลูกเล่นแพรวพราวจะได้รับความนิยมชมชอบ ถ้าเป็นการประกวดถือว่าชนะที่หนึ่ง
ความสำคัญ เมื่อ ถึงเทศกาล "ยี่เป็ง" ชาวบ้านที่นับถือพระพุทธศาสนาจะทำโคมลอยไปถวายวัดเพื่อเป็นพุทธบูชาหรือบูชา พระเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ วันอื่น เดือนอื่นไม่นิยมทำกัน การ ปล่อยโคมลอยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในประเพณียี่เป็งของชาวล้านนา เป็นที่รวมแห่งศรัทธาสามัคคีของชาวบ้านกับชาววัด นอกจากนี้การทำโคมลอยยังถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง หากทำไม่ถูกสัดส่วนจะปล่อยไม่ขึ้น

 ที่มา www.prapayneethai.com

 

 

 

ราคาโคมลอยยี่เป็ง
 ไซด์/ขนาด

(เซ็นติเมตร)

ราคาปลีก ราคาส่ง 50
ใบขึ้นไป
ราคาส่ง 100
ใบขึ้นไป
 M/60*70  35 28 19
 L/70*90  40 35 30
 XL/80*150  60 45 40
 น้ำตก  20 15 12
 แสงสีเสียง  35 30 28
*ราคานี้ไม่รวมค่าขนส่ง
สั่งซื้อได้ที่
บ้านโคมลอย 21/9 ม.12 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทร.02-5205154,089-8810488 แฟกซ์ 02-5205210

ชำระเงินโดยโอนเงินทางธนาคาร

-ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบิ๊กซีนวนคร
เลขบัญชี 377-236722-3 ชื่อบัญชี ศุฐิศาวิศวกรรม -ธนาคารกสิกรไทย สาขาบิ๊กซีนวนคร
เลขบัญชี 562-2-13005-1 ชื่อบัญชี ศุฐิศาวิศวกรรม    -ธนาคารกรุงเทพฯ สาขาบิ๊กซีนวนคร
เลขบัญชี 947-0-04618-7 ชื่อบัญชี ศุฐิศาวิศวกรรม

 

 

 ความรู้เกี่ยวกับประเพณียี่เป็ง

ในภาษาคำเมืองของทางเหนือ “ยี่” แปลว่า สอง และคำว่า “เป็ง” หมายถึง เพ็ญ หรือพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้นจึง
หมายถึงประเพณีพระจันทร์เต็มดวงในเดือนสอง โดยในพงศาวดารโยนกและจามเทวี มีบันทึกว่าครั้งหนึ่งได้เกิด
อหิวาตกโรคขึ้นในแคว้นหริภุญไชย ทำให้ชาวเมืองต้องอพยพไปอยู่เมืองหงสาวดี นานถึง 6 ปี จึงจะเดินทางกลับ
มายัง บ้านเมืองเดิมได้ เมื่อเวลาเวียนมาถึงวันที่จากบ้านจากเมืองไป จึงได้มีการทำกระถางใส่เครื่องสักการบูชา
ธูปเทียนลอย ลอยตามน้ำ เพื่อให้ไปถึงญาติพี่น้องที่ล่วงลับไป เรียกว่า การลอยโขมด หรือลอยไฟ ในงานบุญ ยี่เป็ง
ยังมีการเทศน์มหาชาติ ผู้คนจะออกมาตกแต่งบ้านเรือน วัดวาอาราม และถนนหนทาง ด้วยต้นกล้วย อ้อย ทางมะพร้าว
ดอกไม้ ตุงช่อประทีปและชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา ยามค่ำคืนจะมีการจุดโคมลอย ปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า
เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์ จุดเด่นของงานนี้อยู่ที่การปล่อย โคมลอย ขึ้นไปในท้องฟ้า
โดยเชื่อกันว่า เปลวไฟในโคมเป็นสัญลักษณ์ของความรู้ และแสงสว่างที่ได้รับจากโคม จะส่งผลให้ดำเนินชีวิตไปใน
ทางที่ถูกต้อง การจุดโคมลอยมี 2 แบบ คือแบบที่ใช้ปล่อยใน เวลากลางวัน เรียกว่า “ว่าว” จะเน้นที่ตัวโคมทำด้วย
กระดาษหลากสีสัน ส่วนโคมที่ปล่อยในเวลากลางคืนเรียกว่า “โคมไฟ” ทำด้วย กระดาษว่าวสีขาวใช้ไฟจุดรมเอาไอร้อน
เพื่อให้โคมลอยขึ้น โคมลอยติดกันเป็นสายยาวค่อย ๆลอย ขึ้นสู่ท้องฟ้า คงเสมือนสิ่งกระตุ้นจิตใจของผู้ร่วมงานให้
ลอยสูงขึ้นไปบนสวรรค์ได้เป็นอย่างดี

ประเพณียี่เปงจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 13 ค่ำ ซึ่งถือว่าเป็น “วันดา” หรือวันจ่ายของเตรียมไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด ครั้น ถึง
วันขึ้น 14 ค่ำ พ่ออุ้ยแม่อุ้ยและผู้มีศรัทธาก็จะพากันไปถือศีล ฟังธรรม และทำบุญเลี้ยงพระที่วัดมีการทำกระทงขนาดใหญ่
ตั้งไว้ที่ลานวัด ในกระทงนั้นจะใส่ของกินของใช้ ใครจะเอาของมาร่วมสมทบด้วยก็ได้เพื่อเป็น ทานแก่คนยากจน
ครั้นถึงวันขึ้น 15 ค่ำ จึงนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็ก ๆ ของส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ ในงาน บุญยี่เป็งนอกจากจะมีการ
ปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์มหาชาติตามวัดวาอารามต่าง ๆ แล้ว ยังมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน และถนนหนทางด้วย
ต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็ง แบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา พอตกกลางคืนก็จะมี
มหรสพและการละเล่นมากมาย มีการแห่โคมทอง พร้อมกับมีการจุดถ้วย ประทีป (การจุดผางปะติ๊ด)เพื่อบูชาพระรัตนตรัย
การจุดบอกไฟ การจุดโคมไฟประดับตกแต่งตาม วัดวาอาราม และการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสท้องฟ้าเพื่อเพื่อบูชา
พระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ความเชื่อ การปล่อยว่าวไฟหรือโคมลอยนี้ ชาวบ้านมักมีความเชื่อกันว่า
เพื่อให้ว่าวได้นำเอาเคราะห์ ร้ายภัยพิบัติต่างๆออก ไป จาก หมู่บ้าน ดังนั้นว่าวหรือโคมลอยที่ปล่อยขึ้นไปถ้าไปตกในบ้าน
ใคร บ้านนั้นต้องจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์ เพื่อล้างเสนียด จัญไรทั้งปวงออกไป นอกจากนี้ ยังถือกันว่าเป็น การทำเพื่อบูชา
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และเพื่อความสนุกสนาน สร้างความสามัคคีกันใน หมู่บ้าน อีกด้วย

สอบ ถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ททท. สำนักงานเชียงใหม่ โทร. 0 5333 8048, 0 5324 8604, 0 5324 8607, 0 5330 2500 และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โทร. 1672

ที่มา http://www.cmsayhi.com

 

 

ศุฐิศาวิศวกรรม
 จำหน่าย/ติดตั้งจานดาวเทียมทุกระบบ

 

 

 

 

 

บ้านโคมลอย 21/9 ม.12 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทร.02-5205154,089-8810488 แฟกซ์ 02-5205210    
โทร.02-5205154,089-8810488