[มือสอง] เหรียญ หลวงพ่อโต วัดพนังเชิง ปี 2517เหรียญอามใหญ่ กระไหล่ทอง

677 สัปดาห์ ที่แล้ว - พระนครศรีอยุธยา - คนดู 1,223
รายละเอียด

เหรียญ หลวงพ่อโต วัดพนังเชิง ปี 2517เหรียญอามใหญ่ กระไหล่ทอง รัปประกันพระแท้ ไม่แท้ยินดีคืนเงินเต็มจำนวน

เหรียญหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นเหรียญพระพุทธเก่าแก่เหรียญหนึ่งที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ ด้วยเป็นเหรียญพระพุทธที่ได้รับนิยมสะสมอย่างสูงในหมู่นักนิยมสะสมพระ เครื่องและเหรียญคณาจารย์

วัดพนัญเชิง เป็นวัดเก่าแก่ มีพระพุทธไตรรัตนนายก หรือหลวงพ่อโต หรือที่ชาวจีนมักเรียกว่า ซำปอฮุดกง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางมารวิชัย เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่วัด

พุทธลักษณะแบบสมัยอู่ทอง หน้าตักกว้าง 7 วา 10 นิ้ว ความสูงตลอดถึงพระรัศมี 9 วา 2 ศอก เป็นพระพุทธรูปที่เป็นที่เคารพนับถืออย่างมากในหมู่พุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทย และชาวจีน มีการจัดงานประจำปีเพื่อนมัสการทุกปี โดยชาวไทยจะจัดในช่วงวันสงกรานต์เดือนเมษายน ส่วนชาวจีนจะจัดในช่วงเดือน 9 เรียกกันว่า "งานงิ้วเดือนเก้า" ซึ่งตรงกับวันสิ้นเดือน 7 ของจีน นอกจากนี้ ยังมีการจัดงานในช่วงเทศกาลสำคัญๆ อาทิ วันสารทจีน วันตรุษจีน เป็นต้น

เหรียญหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง เป็นเหรียญปั๊มรูปอาร์ม หูในตัว สร้างเป็นเนื้อทองแดง ทั้งกะไหล่เงิน กะไหล่ทอง และแบบรมดำ ด้านหน้า ยกขอบเป็นเส้นนูน และมีขอบเส้นลวดอีกชั้นหนึ่ง ตรงกลางเป็นรูปจำลองพระพุทธไตรรัตนนายกประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย เหนืออาสนะยกเป็นฐานชุกชี ด้านข้างทั้งซ้ายและขวามีพระอัครสาวกพระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตรยืนหันข้าง ด้านบนเป็นอักษรไทยว่า "พระพุทธไตรยรัตนนายก" ส่วนด้านหลัง เป็นพื้นเรียบ ตรงกลางเป็น "ยันต์ 3" บรรจุอักขระขอม 4 ตัว อ่านว่า "อิ สวา สุ อิ" ซึ่งเป็นอักขระย่อของหัวใจพระรัตนตรัย ด้านบนของยันต์ เป็นอักษรไทยโค้งรอบยันต์ว่า "วัดพนัญเชิง กรุงเก่า" ด้านล่างของยันต์เป็นอักษรจีน 4 ตัว อ่านได้ว่า "ซำปอฮุดกง" จะเห็นได้ว่า มีอักษรปรากฏบนเหรียญถึง 3 ภาษา นับเป็นความพิเศษ ซึ่งแตกต่างจากเหรียญทั่วไป ที่ส่วนใหญ่มีเพียง 2 ภาษาเท่านั้น

"เหรียญหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง" มีการจัดสร้างเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2460 และต่อมายังได้มีการจัดสร้างอีกในปี พ.ศ.2485 ปี พ.ศ.2517 และปี พ.ศ.2533 โดยยังคงรายละเอียดต่างๆ เหมือนเหรียญเดิมเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น จะเพียรแสวงหาเพียงของเก่ารุ่นแรกคงจะเป็นไปได้ยากและสนนราคาก็น่าจะสูงเอาการอยู่ แต่ด้วยความเป็นเหรียญหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง ไม่ว่ารุ่นไหนก็น่าสะสมทั้งสิ้นด้วยประวัติความเป็นมาขององค์พระ วัด และปาฏิหาริย์ที่ปรากฏเป็นที่เลื่องลือ

การสร้างวัตถุมงคลของวัดพนัญเชิง เท่าที่ทราบเกือบทุกปีวัดจะสร้างวัตถุมงคลเป็นรูปหลวงพ่อโตจำลองในพระวิหาร เป็นพระพุทธรูปแบบบูชาตามบ้านเรือนบ้าง เป็นพระเครื่อง เหรียญ ล็อกเก็ต ฯลฯ สร้างขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธาไปกราบไหว้หลวงพ่อโตสักการบูชาเพื่อหารายได้สมทบทุนซ่อมแซมและก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัด แบบเดียวกับวัดโสธรวราราม จ.ฉะเชิงเทรา วัตถุมงคงต่างๆ มีผู้ศรัทธาเลื่อมใสกันมาก ต่างพากันเช่าบูชาหมดทุกปี

การจัดสร้างวัตถุมงคลของวัดนี้ทำแบบเดียวกับการจัดสร้างวัตถุมงคลของวัดโสธรวราราม คือมีคณะกรรมการที่เรียกว่า "เฒ่านั้ง" ไปจ้างโรงงานทำแล้วควบคุมดูแลเรื่องการปั๊ม การสร้าง ไม่ให้มีของเสริม

พิธีพุทธาภิเษก จะนิมนต์พระคณาจารย์ที่เก่งกล้าทางด้านพุทธาคม หลายๆ รูป มาร่วมกันนั่งปรกปลุกเสกภายในพระอุโบสถ เสร็จพิธีแล้วจะมีการฉลองสมโภชหลายวันหลายคืน เป็นพิธีใหญ่ ทำถูกต้องตามกระบวนการแบบโบราณทุกอย่าง ภายหลังจากนั้นจึงจะเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจเช่าบูชาวัตถุมงคลที่ จัดสร้างขึ้น

ลำดับขั้นตอนการสร้างวัตถุมงคล วัดปฏิบัติ ทำมาอย่างนี้ พระที่สร้างขึ้นมาจึงมีคุณภาพ มีความศักดิ์สิทธิ์ ก่ออภินิหารต่อผู้ที่นำไปใช้ เรียกว่ามีประสบการณ์ เป็นที่โจษขานเลื่องลือ และนิยมเสาะแสวงหากันมาก บังเกิดเป็นความนิยม มีราคาสูงขึ้นทุกวันๆ ดังมาจากประสบการณ์ด้านคุณภาพของมงคลชนิดนั้นๆ ไม่ได้ดังขึ้นมาจากการโฆษณา

วัตถุมงคลของวัดพนัญเชิง ที่สร้างขึ้นมีหลายแบบอย่าง แต่เรื่องที่จะนำมากล่าวคุยกันในวันนี้ คือ เหรียญหลวงพ่อโต พิมพ์เศียรเล็ก พ.ศ.2460 ซึ่งมีความเชื่อกันว่า เป็นเหรียญรุ่นแรก และเชื่อกันว่าสร้างเมื่อ พ.ศ.2460 ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีการจารึก พ.ศ. ที่สร้างไว้ในเหรียญก็ตาม แต่รู้กันเป็นนัยๆ ว่า สร้างเมื่อ พ.ศ.2460 พร้อมกับเหรียญหลวงพ่อพุทธโสธร พ.ศ. 2460

สาเหตุที่เรียกกันว่า "พิมพ์เศียรเล็ก" หมายถึงเศียรของพระอัครสาวกเบื้องซ้าย และเบื้องขวา คือ พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร เศียรมีขนาดเล็กกว่าเหรียญหลวงพ่อโต เรียกกันว่า "พิมพ์เศียรโต" คำว่าเศียรเล็ก เศียรโต จึงถือเอาเศียรพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร มิได้มีความหมายถึงเศียรองค์พระพุทธเจ้าองค์กลาง ที่เรียกว่า "หลวงพ่อโต"

ด้วยเหตุนี้แหละ บรรดานักนิยมสะสมอนุรักษ์วัตถุมงคลจึงถือเอาขนาดของพระเศียรของพระอัครสาวก เบื้องซ้ายและเบื้องขวา มาตั้งชื่อแบบพิมพ์ แยกออกจากกัน เพื่อให้เข้าใจความหมาย พูดกันรู้เรื่องง่ายเข้า ไม่สับสน และที่เรียกชื่อว่า "พิมพ์เศียรเล็ก" มีเฉพาะเหรียญรุ่นนี้รุ่นเดียว ส่วนรุ่นอื่นๆ เขาก็มีชื่อเรียกเฉพาะแตกต่างกันไป

ลักษณะของเหรียญ เป็นเหรียญปั๊มมีหูในตัว รูปอาร์ม ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อโตและพระอัครสาวกเบื้องซ้ายเบื้องขวา คือ พระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร ที่ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารวัดพนัญเชิง ด้านบนซ้ายมือเขียนว่า "พระพุทธไตร" ด้านบนขวามือเขียนว่า "ยรัตนนายก"

ด้านหลัง ตรงกลางเป็นอักขระขอม 4 ตัว คือ "อิสวาสุ" อยู่ภายในขมวดยันต์ช่องละตัว มี 4 ช่อง ด้านบนเขียนว่า "วัดพนัญเชิงกรุงเก่า" ด้านล่างมีภาษาจีน 4 ตัว อ่านได้ความว่า "ซำปอฮุดกง"

ด้วยเหตุที่เป็นเหรียญพระพุทธที่ได้รับความนิยมในลำดับต้นๆ ถ้าเป็นเหรียญที่ อยู่ในสภาพสวย ราคาประมาณ 5-8 แสนบาท แต่ต้องระวังให้มาก เพราะมีการทำของปลอมออกมาเหมือนมาก อัตราส่วนของปลอมกับของแท้มีอัตราส่วน 100 : 1 จุดสังเกตที่สำคัญ คือ รอยใบเลื่อยด้านข้างของเหรียญ