[ใหม่] สุนัขพิกาขาหลัง เดินไม่ได้ แมวพิการ หนูพิการ กระต่ายพิการ

521 สัปดาห์ ที่แล้ว - กรุงเทพมหานคร - คนดู 427

รถวีลแชร์เพื่อสัตว์พิการ

เพราะความสงสาร...เธอจึงคิดและค้นคว้าพัฒนาล้อเลื่อนสำหรับสุนัข
ซึ่งนำไปสู่การลดความทุกข์ทรมานและคืนความสุขแก่สัตว์พิการอีกนับพันชีวิต


            คุณเกวลิน  สุรคุปต์ ผู้คุ้นเคยกับสุนัขเป็นอย่างดี แต่เช้าวันหนึ่งเจ้าสิงโต สุนัขเพศผู้พันธุ์ เชา-เชา ตัวโตสีน้ำตาลที่เคยแข็งแรงกลับป่วยและเดินไม่ได้อย่างไม่มีวี่แววมาก่อน " ดิฉันได้พาเขาไปหาเพื่อนที่เชี่ยวชาญทางด้านระบบประสาทช่วยเช็คอาการให้ แล้วพบว่าเขามีปัญหาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท พอกลับบ้านก็เห็นว่าเขายังต้องการเคลื่อนไหว โดยพยายามลากตัวเองไปตามพื้นจนเริ่มเป็นแผล ขับถ่ายก็ลำบาก ผ่านไปแค่สองวัน ดิฉันทนเห็นสภาพนั้นไม่ไหว " คุณเกวลินเล่าถึงเหตุการณ์เมื่อสี่ปีที่แล้ว

        ทว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับเจ้าสิงโตจุดประกายให้เธอเริ่มต้นการค้นคว้าวิจัยและพัฒนารถวีลแชร์สำหรับสุนัข ตลอดจนสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น ๆ ที่มีความพิการหรือเจ็บป่วยจนไม่อาจเคลื่อนไหวเอง เพื่อให้พวกเขาสามารถเดิน วิ่ง และไม่ต้องทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจจากการต้องอยู่กับที่ หรือเผชิญกับของเสียจากการขับถ่ายจนนำไปสู่การติดเชื้อและเจ็บป่วนด้วยภาวะแทรกซ้อน ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด


                       ในเวลานั้น คุณเกวลินรู้สึกอย่างเดียวว่าต้องหาทางทำให้สุนัขเดินได้อีกครั้ง จึงติดต่อไปยังโรงพยาบาลสัตว์ที่มีชื่อเสียงหลาย ๆ แห่งตลอดจนค้นคว้าหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต

 " " ดิฉันต้องการรถวีลแชร์ให้เข้าเพราะเคยเห็นที่ต่างประเทศมีการใช้กัน แต่ปรากฏว่าไม่มีตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ในเมืองไทย พอค้นหาทางอินเตอร์เน็ตก็ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ สนนราคาประมาณ 10,000 ถึง 20,000 บาท ซึ่งดิฉันคิดว่าเพื่อสิงโตดิฉันจ่ายได้ แต่พอศึกษาข้อมูลแล้วกลับพบว่า วัสดุไม่เหมาะกับสภาพอากาศร้อนอย่างบ้านเรา เพราะวีลแชร์จะถูกห่อหุ้มด้วยหนัง ดิฉันจึงคิดว่าจะค้นคว้าเองเพื่อให้สุนัขของเราได้สิ่งที่ดี " คุณเกวลินกล่าวและเชื่อมั่นว่าพื้นฐานงานวิจัยตอนเรียนปริญญาโทจะช่วยต่อยอดให้เธอพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ "


                      คุณเกวลินใช้เวลาประมาณหนึ่งปี ในปี 2550 ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองโดยคิดรูปแบบและทดลองประดิษฐ์แล้วใช้กับเจ้าสิงโตและสุนัขอื่น ๆ รวมราว 40 ตัว ซึ่งได้รับความร่วมมือจากเพื่อนสัตวแพทย์ที่ช่วยแนะนำเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่กำลังเผชิญปัญหาคล้ายกันมาร่วมทดสอบใช้รถวีลแชร์จากการประดิษฐ์ของเธอ ซึ่งเธอต้องวัดตัวสัตว์แต่ละตัวเพื่อนำไปใช้ผลิตให้พอดีและเหมาะสมกับการใช้งาน ทุกขึ้นตอนต้องละเอียดถี่ถ้วน จากนั้นติดตามผลเพื่อให้แน่ใจในประสิทธิภาพเพราะวีลแชร์ของเธอจะต้องผลิตอย่างถูกต้องตามหลักการแพทย์

 " " น้ำหนักและขนาดของวัศดุที่ใช้ผลิต, ขนาดของล้อเลื่อน, อายุของสัตว์และอาการจะต้องนำมาคิดคำนวณหมด นอกจากนั้นเป็นเรื่องของความเข้าใจและเอาใจใส่ของเจ้าของและการปรับตัวของสัตว์แต่ละตัวซึ่งต่างกัน " คุณเกวลินเล่าจากประสบการณ์ของการทำรถวีลแชร์ตลอดระยะเวลาสี่ปี"


                       รถวีลแชร์ของเธอไม่เพียงช่วยให้สัตว์พิการหรือเจ็บป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้แต่ยังช่วยส่งเสริมด้านการกายภาพบำบัดแก่สัตว์ที่สวมใส่ เช่น ลดอัตราการลีบของกล้ามเนื้อจากการที่ไม่ได้ใช้ , กระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวอย่างปลอดภัย, ลดการเกิดแผลกดทับและเอื้อต่อการขับถ่ายของสัตว์ให้สะดวกและง่ายต่อการทำความสะอาด

 ""  เบื้องหลังของการพัฒนาผลิตภัณฑ์คือครอบครัวเป็นห่วงดิฉันมากโดยที่บ้านคิดกันว่า  “ เกิดอะไรขึ้นกับลูกสาว ”  เพราะดิฉันเฝ้าสังเกตสุนัขตลอดไม่ยอมไปไหน  ดูว่าเขารู้สึกอย่างไร  สบายไหม  มีอะไรต้องปรับแก้  นั่งดูนอนดูสุนัขทั้งวัน  แล้วจดบันทึก  คิดคำนวณ  และแก้ไข  มีครั้งหนี่งซึ่งที่บ้านต้องการให้ดิฉันไปพัทยาด้วยกันเพื่อพักผ่อนกันทั้งครอบครัว  ท้ายที่สุด  ดิฉันยอมไป  แต่ยืมรถกระบะของเพื่อนและนั่งท้ายกระบะไปกับเจ้าสิงโต”  คุณเกวลินเล่าพร้อมกับหัวเราะความไม่ยอมแพ้ของตนเอง "


                       คุณเกวลินได้จดสิทธิบัตรผลงานชิ้นนี้และรับรู้ว่าความต้องการรถวีลแชร์สำหรับสัตว์ยังมีอีกมาก  เธอตัดสินใจลาออกจากงานประจำที่มั่นคงมารับผลิตวีลแชร์สำหรับช่วยสุนัขพิการหรือเจ็บป่วยจนเคลื่อนไหวไม่ได้เองอย่างจริงจัง  ท่ามกลางความกังขาของคนส่วนใหญ่ที่ไม่คิดว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะคุ้มค่า  ...  ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้ทั้งในประเทศและต่างประเทศหลังทราบผลว่าดีต่อสัตว์เลี้ยงและค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าวีลแชร์ที่ผลิตและจำหน่ายกันทั่วไปมาก

 " “  ความต้องการจริง ๆ ของดิฉันคืออยากช่วยสัตว์ที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวให้เดินได้  วิ่งเล่นรื่นเริงได้อย่างที่เขาเคยเป็น  ยืนขับถ่ายด้วยตัวเองได้โดยไม่เลอะเทอะ  และสิ่งที่เน้นคือผู้ดูแลสัตว์ต้องให้ความสนใจจริง ๆ  โดยตามหลักการแพทย์แล้ว  วีลแชร์ต้องถอดและใส่  ไม่ใช่ใส่ให้แล้วปล่อยทิ้งไว้กับตัวสัตว์ ”  เธอกล่าว  ซึ่งจะใช้หลักการ  40 : 40 : 20  ซึ่งหมายความว่า  ผู้ผลิตมีความสำคัญ 40% ในการผลิตวีลแชร์ที่มีคุณภาพให้  จากนั้นผู้ดูแลต้องเป็นผู้คอยสวมใส่และถอดให้  ซึ่งก็มีความสำคัญเท่าเทียมกันคือ 40%  อีก 20% คือการปรับตัวของสัตว์ในการหัดขับขี่ซึ่งในแต่ละตัวช้าเร็วไม่เท่ากัน "