[ใหม่] สารเร่งน้ำยางพารา
รายละเอียด
สารเอทิลีนเป็นฮอร์โมนพืช สามารถกระตุ้นการสุกของผลไม้หลายชนิด โดยพืชชนิดต่างๆ ผลิตเอทิลีนจากกระบวนการเมทาบอลิซึ่ม (metabolism) ในส่วนของลำต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด และรากเป็นต้น นอกจากนี้เอทิลีนจะช่วยเร่งให้เกิดน้ำยางในต้นยางพารา ส่งผลให้น้ำยางไหลเร็วและนานขึ้น
คุณสมบัติพิเศษของเอทิลีน
เอทิลีน เป็นฮอร์โมนพืชชนิดเดียวที่อยู่ในรูปแก๊ส และมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชเป็นอย่างมากไม่มีสี มีกลิ่นเล็กน้อย จัดเป็นสารอินทรีย์ประเภทไฮโดรคาร์บอน ที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของสารที่มีคาร์บอน และเกิดจากการสร้างขึ้นของพืช จากการพิสูจน์พบว่า สารเอทิลีนเป็นฮอร์โมนพืช สามารถกระตุ้นการสุกของผลไม้หลายชนิด โดยพืชชนิดต่างๆ ผลิตเอทิลีนจากกระบวนการเมทาบอลิซึ่ม (metabolism) ในส่วนของลำต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด และรากเป็นต้น นอกจากนี้เอทิลีนจะช่วยเร่งให้เกิดน้ำยางในต้นยางพารา ส่งผลให้น้ำยางไหลเร็วและนานขึ้น จึงมีความสำคัญกับต้นยางพาราเป็นอย่างมากเมื่อมีการกรีดยางพาราทุกครั้ง เท่ากับต้นยางมีแผลสารเอทิลีนจะออกฤทธิ์คือ กรด chloroethylphosphonic ซึ่งมีผลในการเร่งการไหลของน้ำยาง ทำให้ได้รับผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้น เพราะเอทิลีนไปเร่งการทำงานของเอนไซม์ ATPase ทำให้โปรตอนเกิดการเหนี่ยว และเข้าสู่เซลล์การสังเคราะห์ยาง จะช่วยเร่งการเคลื่อนย้ายน้ำตาลซูโครส ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์น้ำยาง
การเพิ่มเอทธิลีนให้กับต้นยางดีอย่างไร
ระบบการเพิ่มฮอร์โมนเอทธิลีน คือการเพิ่มระดับฮอร์โมนที่ขาดหายไปในโครงสร้างต้นยางให้เกิดความสมดุลขึ้น ทำให้ระบบต่าง ๆ ของต้นยางสมบูรณ์ขึ้นส่งผลให้
- การลำเลียงอาหารสมบูรณ์ขึ้น
- การสังเคราะห์แสงสมบูรณ์ขึ้น
- การผลิตน้ำยางปริมาณมากขึ้น
- การขยายตัวของท่อน้ำยางมากขึ้น
- ระบบภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ จะดีขึ้น
โดยมีหลักการดังนี้
1. กรีดยางหน้าสั้น 4 นิ้ว คือการกรีดยางโดยใช้พื้นที่ของเปลือกยางกว้างเพียง 4 นิ้ว ทำให้ประหยัดพื้นที่หน้ายาง และยืดอายุการใช้งานของต้นยางได้นานขึ้น โดยปกติเราจะกรีดเปลือกยางกว้าง 8-12 นิ้ว ทำให้สูญเสียพื้นที่ของเปลือกยางโดยเปล่าประโยชน์ ทำให้อายุการใช้งานของต้นยางสั้นลง
2. กรีดยางจากด้านล่างขึ้นด้านบน เนื่องจากโดยปกติท่อน้ำยางจะไหลเวียนรอบต้นยางในลักษณะจากด้านบนขวาลงมาด้านซ้ายล่าง การกรีดจากด้านล่างขึ้นด้านบนจะกรีดขึ้นไปรับท่อน้ำยางใหม่ตลอด ทำให้ได้ผลผลิตมากกว่า
3. กรีดยางหน้าเฉียง 45 องศา จะทำให้พื้นที่การกรีดตัดท่อน้ำยางใหม่มาทกี่สุด และทำให้การไหลของน้ำยางลงสู่ถ้วยรองรับได้สะดวก ไม่หกตามหน้ายาง
4. กรีดยางตอนเย็น (ช่วง 4-6 โมงเย็น) ระบบนี้ น้ำยางไหลประมาณ 12-15 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ภูมิประเทศ ความสมบูรณ์ของดินและต้นยาง จากการเปรียบเทียบการกรีดยางช่วงเย็นประมาณ 4-6 โมงเย็น การไหลของน้ำยางผ่านช่วงเวลากลางคืน ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำ มีลมพัดโกรกน้อย ทำให้หน้ายางแห้งช้า ปริมาณผลผลิตที่ได้มากกว่าการกรีดช่วงเวลาอื่น
5. กรีด 1 วันเว้น 2 วัน เป็นระยะการกรีดที่เหมาะสมที่สุด เพราะเทคโนโลยีการเพิ่มฮออร์โมน จะให้ผลผลิตน้ำยางในปริมาณมาก การกรีด 1 วัน เว้น 2 วัน เพื่อให้ท่อน้ำยางได้พัก ประมาณ 48 ชั่วโมง มีเวลาในการดูดน้ำ แร่ธาตุ เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงผลิตเป็นน้ำยาง จึงทำให้ต้นยางสมบูรณ์ตลอดเวลา และมีข้อดีคือ ทำให้ไม่เกิดโรคหน้ายางตายนึ่ง ซึ่งส่วนมากมีสาเหตุจากการกรีดยางมากเกินไป โดยไม่ได้พักหน้ายาง