[ใหม่] กล้องดูดาว ยี่ห้อ KSON รุ่น KTE900114EQ ราคาพิเศษ

526 สัปดาห์ ที่แล้ว - สมุทรสาคร - คนดู 225

8,000 ฿

  • กล้องดูดาว ยี่ห้อ KSON รุ่น KTE900114EQ ราคาพิเศษ รูปที่ 1
  • กล้องดูดาว ยี่ห้อ KSON รุ่น KTE900114EQ ราคาพิเศษ รูปที่ 3
รายละเอียด

กล้องดูดาวคุณภาพสูง ราคาเอื้อมถึง เน้นใช้งานจริง เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นดูดาวเป็นอย่างมาก ด้วยกำลังขยายสูงสุดสามารถมองเห็นดาวพฤหัสบดีได้  กล้องดูดาวรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ประสิทธิภาพและราคาคุ้มค่าที่สุด เนื่องจากถ้าใช้กล้องชนิดอื่นที่สเปกต่ำกว่านี้จะทำให้มองไม่เห็นดาวพฤหัสบดีได้ (เห็นเป็นแค่จุด ๆ) แต่ถ้าใช้กล้องที่มีประสิทธิภาพดีกว่านี้ ก็จะต้องเพิ่มเงินอีกหลายพัน ซึ่งอาจจะเป็นการลงทุนที่สูงเกินไปสำหรับมือใหม่ เพราะต่อให้เป็นกล้องขนาด 13 นิ้ว ซึ่งมีราคาหลายหมื่นบาท ก็สามารถเห็นได้แค่ดาวในระบบสุริยะเท่านั้น (สามารถเห็นดาวเสาร์ได้ชัดเจน) ซึ่งถ้าเทียบกับการได้เห็นดาวเสาร์ แล้วต้องเพิ่มเงินอีกหลายพันบาท อาจจะยังไม่คุ้มค่าสำหรับมือใหม่ ดังนั้นกล้องรุ่นนี้จึงเป็นรุ่นที่ตอบโจทย์ทั้งด้านประสิทธิภาพ คุณภาพและราคา โดยกล้องนี้มีสเปก ดังนี้

  1. เลนส์ขนาด 114 mm (4 นิ้วครึ่ง) และมีค่า f/8 ทำให้สามารถเห็นดาวได้ชัดเจน (สามารถเห็นดาวพฤหัสบดีได้ โดยเห็นพื้นผิวของดาวด้วย)
  2. เลนส์ใกล้ตาขนาด 1.25 นิ้ว แบบ KF 25 mm และ Pl 10 mm
  3. มีค่าความยาวโฟกัส (focal length) ที่ 900mm 
  4. ฐานตั้งกล้องที่สามารถควบคุมองศาการมองได้ตามต้องการ พร้อมรองรับการติดตั้งมอเตอร์ตามดาว (Motor Drive) เหมาะสำหรับใช้ถ่ายรูปครับ (มอเตอร์ตามดาวต้องซื้อต่างหากนะครับ)
  5. ฐานตั้งกล้องเป็นแบบอิเควเทอเรียล (Equaterial Mount) ซึ่งทำให้สามารถหาดาวทั้งในแบบ Equaterial coordinate ซึ่งใช้สำหรับคนที่ต้องการถ่ายรูปและตามดาวด้วยมอเตอร์ และแบบ Altazimuth coordinate ซึ่งถ้าเรียกในภาษาผมก็คือการหาดาวแบบ "ลูกทุ่ง" ครับ
  6. มีกล้องชี้ดาวขนาด 30mm
  7. มี Barlow สำหรับเลนส์ใกล้ตำ ให้กำลังขยายเพิ่มจากเดิมอีก 2 เท่า 
  8. ขนาดกล้อง 100x39x26 cm

อุปกรณ์ที่มากับชุดกล้องดูดาวนี้

  • ขาตั้งกล้องแบบ 3 ขาปรับความสูงได้
  • ส่วนติดตั้งกล้อง (Mount) สำหรับวางกล้องดูดาวแบบอิเควเทอเรียล (Equaterial Mount)
  • ลูกตุ้มถ่วงสมดุลกล้อง
  • ที่หมุนปรับองศากล้องแบบละเอียด
  • กล้องชี้ดาวขนาด 30 mm
  • เลนส์ใกล้ตาและเลนส์ Barlow รวม 3 ชิ้น
  • ถาดใส่เลนส์

นอกจากนี้เรายังได้จัดทำเว็บไซต์สำหรับสอนการประกอบตัวกล้อง, การดูดาวขั้นพื้นฐานและความรู้เกี่ยวกับการดูดาวที่ http://brighttelescope.blogspot.com