[ใหม่] ความเบาหวิวเหลือทนของชีวิต(The Unbearable Lightness of Being)
541 สัปดาห์ ที่แล้ว
- กรุงเทพมหานคร - คนดู 55
รายละเอียด
"ความเบาหวิวเหลือทนของชีวิต(The Unbearable Lightness of Being)"
มิลาน คุนเดอรา (Milan Kundera) เขียน
ภัควดี วีระภาสพงษ์ แปล
พิมพ์แรก 2541
ภาพปกโดย วสันต์ สิทธิเขตต์
จำนวน 296 หน้า
สภาพใหม่เก่าเก็บ
ราคาขาย : 200 บาท
ในโลกใบกลมดวงนี้มีเรื่องสองมุมที่ดำรงขนานกันมากมาย โดยฟากฝั่งทั้งสองด้านนั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่มนุษย์สามารถคัดแยกระหว่างดี เลว บวก ลบ ได้ชนิดไม่ยากเข็ญอะไรนัก
แต่การเลือกด้านในเรื่องที่เกี่ยวกับน้ำหนักกลับเป็นสิ่งที่ยากจะชี้ชัดตัดสิน หรือนำเหตุผลมาสนับสนุนคัดคานได้ว่า ระหว่างความหนักอึ้งกับเบาหวิว สิ่งใดคู่ควรแก่การเลือกข้างเพื่อสถิตย์ยืนมากกว่ากัน
เพราะบางครั้ง การมีภาระหน่วงหนัก อาจมิใช่สิ่งเลวร้าย หรือสภาวะไร้น้ำหนัก เบาหวิว ก็คงจะไม่น่ายินดี…เสมอไป
‘ความเบาหวิวเหลือทนของชีวิต’ มิเพียงเป็นนวนิยายชื่อแปร่งหูชวนขันหรือน่าสนเท่ห์เท่านั้น หากทว่าวรรณกรรมฝีมือการประพันธ์ของ ‘มิลาน คุนเดอลา’ เรื่องนี้ ยังเป็นการเรียงร้อยเรื่องราวที่เคลือบคลุมไปด้วยนานาคำถามตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งแก่นสารของคำถามเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยจะมีผู้ใดหยิบมาครุ่นคิดใคร่ครวญ เป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบสำเร็จรูป หรือคำถามที่เวียนย้อนกลับมาสู่จุดตั้งต้นทุกครั้งที่ต้องการจะไขคลาย
‘คุนเดอลา’ ใช้ความเอกอุในเชิงนักคิด นักตั้งคำถามเชื่อมโยงไปสู่การเป็นนักประพันธ์นวนิยาย “ความเบาหวิวเหลือทนของชีวิต” เรื่องนี้ คุนเดอลาเปิดเริ่มมาในลักษณะของการตั้งคำถามที่หยิบปุจฉาแปลกๆ มาวิเคราะห์ใคร่ครวญ เขาค่อยๆ พิจารณามันอย่างเชื่องช้า อารมณ์ คำถาม คำตอบ และแนวความคิด ตลอดจนทัศนคติที่เกิดขึ้นบรรทัดต่อบรรทัดสร้างความรู้สึกสดใหม่เสมือนว่าคุนเดอลากำลังนั่งเผชิญหน้าหาคำตอบไปพร้อมๆ กับผู้อ่าน ผ่านการพลิกผ่านแบบหน้าต่อหน้า บรรทัดต่อบรรทัด และย่อยลึกลงไปชนิดคำต่อคำเลยทีเดียว
ลักษณาการที่คุนเดอลาใช้ในการเล่าเรื่อง คือการแทนตัวเองเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกับผู้อ่าน กล่าวคือการแสดงตัวเป็นบุคคลที่ 3 ที่กำลังเฝ้ามองติดตามเรื่องราวของตัวละครอย่าง โทมัส, เทเรซา, ซาบินา, ฟรานซ์ ตลอดจนคาเรินนิน เขาสร้างความรู้สึกให้ตัวละครทุกตัวดำเนินเรื่องด้วยตัวเองโดยแสร้งว่าปราศจากการควบคุม การเบี่ยงมายืนอยู่ตำแหน่งเดียวกับผู้อ่านของผู้ประพันธ์ซึ่งทำได้อย่างกลมกลืน ทำให้ลีลาเล่าเรื่องของคุนเดอลามีความน่าสนใจจนส่งให้ตัวละครทุกตัวเคลื่อนไหวใช้ชีวิตราวกับมีลมหายใจและเลือดเนื้ออยู่จริง
‘ความเบาหวิวเหลือทนของชีวิต’ เป็นนวนิยายที่ดำเนินเรื่องผ่านตัวละครหลักทั้ง 4 ซึ่งได้รับการนำเสนอที่เด่นชัดและเท่าเทียม จากจุดเริ่มต้นเรื่องเกี่ยวกับการไม่กล้าตัดสินใจของชายคนหนึ่ง ลากพาไปสู่เรื่องของความสัมพันธ์ ที่มีสายโยงเชื่อมกระชับระหว่างตัวละครที่ 1 ไปสู่ตัวละครที่ 2, 3 ,4 ,…. แล้วเวียนกลับมายึดไว้กับตัวละครที่ 1 อย่างกลมกลืนสวยงาม มิเพียงแค่ภาพความเชื่อมโยงที่นำเสนอได้อย่างมีชั้นเชิง แต่อารมณ์ ด้านลึกและเลือดเนื้อของตัวละคร ที่ถูกเผยแพร่ผ่านบทหลักทั้ง 7 บทก็มีพลังพล่านอยู่ในบทยิบย่อยของบทใหญ่ๆ ทั้ง 7 นั้น
หนึ่งในผู้ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางถ่ายทอดนวนิยายเรื่องนี้สู่นักอ่านชาวไทย ซึ่งควรจะได้รับความดีความชอบและคำชมเชยไม่ด้อยกว่าผู้ประพันธ์ คือ ‘ภัควดี วีรภาสพงษ์’ ผู้แปลซึ่งสามารถคัดคำ เลือกศัพท์ ใช้ภาษาให้สื่อเรื่องที่คุนเดอลาร้อยเรียงออกมาได้อย่างเหมาะเจาะลงตัว ทั้งไพเราะรื่นตาและน่าติดตาม ทำให้รสนวนิยายจากฝีมือการประพันธ์ของวรรณกรชาวเชคท่านนี้กลมกล่อมนุ่มนวลยิ่งขึ้น
การแบ่งภาคของ’ความเบาหวิวเหลือทนของชีวิต’ จำแนกออกมาได้อย่างเป็นสัดเป็นส่วน ไม่ทับซ้อน แม้จะมีชื่อภาคที่เหมือนและซ้ำกันถึงสองภาค สองครั้ง แต่เนื้อหาการดำเนินเรื่องในแต่ละภาคกลับเปลี่ยนแปลงและไม่ย่ำรอยแม้แต่น้อย มิหนำซ้ำยังเป็นการเติบโตทางด้านความคิด ชีวิต และเรื่องราวของตัวละครอย่างแท้จริง
มวลโดยรวมของ ‘ความเบาหวิวเหลือทนของชีวิต’ เป็นการนำเสนอมุมมอง ทัศนคติที่ผู้เขียนมีต่อสังคม การเมือง และมนุษย์ด้วยการต่อยอดจากคำถามแรกเริ่มที่ว่าด้วย การแบ่งเลือกฝั่งฝ่ายเรื่องน้ำหนัก สานต่อไปถึงความสัมพันธ์ หยอกเล่นกับสันดานส่วนลึกของมนุษย์ และเสียดสีแวดวงการเมืองในยุโรปสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เอาไว้อย่างแสบปลาบถึงขั้วหัวใจ
ตั้งแต่จุดเริ่มต้นที่ภาคความเบาหวิวและน้ำหนัก จวบถึงภาคที่ชื่อ รอยยิ้มของคาเรนนิน คุนเดอลาพาผู้อ่านดำดิ่งสู่เรื่องราวของตัวละครนับสิบ ด้วยคำถามและคำถาม ลักษณะการนำคำถามมาใช้เล่าเรื่องของเขา มิใช่การตั้งมันขึ้นมาแล้วพยายามหาข้อสรุปแบบรีบลน หากแต่เป็นการค่อยๆ ต่อเติมเชื้อสงสัยให้โชนคุอยู่ข้างใน แล้วเพิ่มลามจนกลายเป็นเพลิงปุจฉา
จะว่าไป จนถึงบทสรุปในบรรทัดสุดท้าย เพลิงดังกล่าวก็ใช่จะถูกดับดาวให้สูญไป หากแต่ความสงสัยและปัญหาต่างๆ กลับยังแผ่กิ่งแตกก่อต่อยอดอยู่ในใจของทั้งผู้อ่านและผู้เขียนอย่างไม่รู้จักจบสิ้น และไม่มีความจำเป็นจะต้องจบสิ้น
มิลาน คุนเดอรา (Milan Kundera) เขียน
ภัควดี วีระภาสพงษ์ แปล
พิมพ์แรก 2541
ภาพปกโดย วสันต์ สิทธิเขตต์
จำนวน 296 หน้า
สภาพใหม่เก่าเก็บ
ราคาขาย : 200 บาท
ในโลกใบกลมดวงนี้มีเรื่องสองมุมที่ดำรงขนานกันมากมาย โดยฟากฝั่งทั้งสองด้านนั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่มนุษย์สามารถคัดแยกระหว่างดี เลว บวก ลบ ได้ชนิดไม่ยากเข็ญอะไรนัก
แต่การเลือกด้านในเรื่องที่เกี่ยวกับน้ำหนักกลับเป็นสิ่งที่ยากจะชี้ชัดตัดสิน หรือนำเหตุผลมาสนับสนุนคัดคานได้ว่า ระหว่างความหนักอึ้งกับเบาหวิว สิ่งใดคู่ควรแก่การเลือกข้างเพื่อสถิตย์ยืนมากกว่ากัน
เพราะบางครั้ง การมีภาระหน่วงหนัก อาจมิใช่สิ่งเลวร้าย หรือสภาวะไร้น้ำหนัก เบาหวิว ก็คงจะไม่น่ายินดี…เสมอไป
‘ความเบาหวิวเหลือทนของชีวิต’ มิเพียงเป็นนวนิยายชื่อแปร่งหูชวนขันหรือน่าสนเท่ห์เท่านั้น หากทว่าวรรณกรรมฝีมือการประพันธ์ของ ‘มิลาน คุนเดอลา’ เรื่องนี้ ยังเป็นการเรียงร้อยเรื่องราวที่เคลือบคลุมไปด้วยนานาคำถามตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งแก่นสารของคำถามเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยจะมีผู้ใดหยิบมาครุ่นคิดใคร่ครวญ เป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบสำเร็จรูป หรือคำถามที่เวียนย้อนกลับมาสู่จุดตั้งต้นทุกครั้งที่ต้องการจะไขคลาย
‘คุนเดอลา’ ใช้ความเอกอุในเชิงนักคิด นักตั้งคำถามเชื่อมโยงไปสู่การเป็นนักประพันธ์นวนิยาย “ความเบาหวิวเหลือทนของชีวิต” เรื่องนี้ คุนเดอลาเปิดเริ่มมาในลักษณะของการตั้งคำถามที่หยิบปุจฉาแปลกๆ มาวิเคราะห์ใคร่ครวญ เขาค่อยๆ พิจารณามันอย่างเชื่องช้า อารมณ์ คำถาม คำตอบ และแนวความคิด ตลอดจนทัศนคติที่เกิดขึ้นบรรทัดต่อบรรทัดสร้างความรู้สึกสดใหม่เสมือนว่าคุนเดอลากำลังนั่งเผชิญหน้าหาคำตอบไปพร้อมๆ กับผู้อ่าน ผ่านการพลิกผ่านแบบหน้าต่อหน้า บรรทัดต่อบรรทัด และย่อยลึกลงไปชนิดคำต่อคำเลยทีเดียว
ลักษณาการที่คุนเดอลาใช้ในการเล่าเรื่อง คือการแทนตัวเองเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกับผู้อ่าน กล่าวคือการแสดงตัวเป็นบุคคลที่ 3 ที่กำลังเฝ้ามองติดตามเรื่องราวของตัวละครอย่าง โทมัส, เทเรซา, ซาบินา, ฟรานซ์ ตลอดจนคาเรินนิน เขาสร้างความรู้สึกให้ตัวละครทุกตัวดำเนินเรื่องด้วยตัวเองโดยแสร้งว่าปราศจากการควบคุม การเบี่ยงมายืนอยู่ตำแหน่งเดียวกับผู้อ่านของผู้ประพันธ์ซึ่งทำได้อย่างกลมกลืน ทำให้ลีลาเล่าเรื่องของคุนเดอลามีความน่าสนใจจนส่งให้ตัวละครทุกตัวเคลื่อนไหวใช้ชีวิตราวกับมีลมหายใจและเลือดเนื้ออยู่จริง
‘ความเบาหวิวเหลือทนของชีวิต’ เป็นนวนิยายที่ดำเนินเรื่องผ่านตัวละครหลักทั้ง 4 ซึ่งได้รับการนำเสนอที่เด่นชัดและเท่าเทียม จากจุดเริ่มต้นเรื่องเกี่ยวกับการไม่กล้าตัดสินใจของชายคนหนึ่ง ลากพาไปสู่เรื่องของความสัมพันธ์ ที่มีสายโยงเชื่อมกระชับระหว่างตัวละครที่ 1 ไปสู่ตัวละครที่ 2, 3 ,4 ,…. แล้วเวียนกลับมายึดไว้กับตัวละครที่ 1 อย่างกลมกลืนสวยงาม มิเพียงแค่ภาพความเชื่อมโยงที่นำเสนอได้อย่างมีชั้นเชิง แต่อารมณ์ ด้านลึกและเลือดเนื้อของตัวละคร ที่ถูกเผยแพร่ผ่านบทหลักทั้ง 7 บทก็มีพลังพล่านอยู่ในบทยิบย่อยของบทใหญ่ๆ ทั้ง 7 นั้น
หนึ่งในผู้ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางถ่ายทอดนวนิยายเรื่องนี้สู่นักอ่านชาวไทย ซึ่งควรจะได้รับความดีความชอบและคำชมเชยไม่ด้อยกว่าผู้ประพันธ์ คือ ‘ภัควดี วีรภาสพงษ์’ ผู้แปลซึ่งสามารถคัดคำ เลือกศัพท์ ใช้ภาษาให้สื่อเรื่องที่คุนเดอลาร้อยเรียงออกมาได้อย่างเหมาะเจาะลงตัว ทั้งไพเราะรื่นตาและน่าติดตาม ทำให้รสนวนิยายจากฝีมือการประพันธ์ของวรรณกรชาวเชคท่านนี้กลมกล่อมนุ่มนวลยิ่งขึ้น
การแบ่งภาคของ’ความเบาหวิวเหลือทนของชีวิต’ จำแนกออกมาได้อย่างเป็นสัดเป็นส่วน ไม่ทับซ้อน แม้จะมีชื่อภาคที่เหมือนและซ้ำกันถึงสองภาค สองครั้ง แต่เนื้อหาการดำเนินเรื่องในแต่ละภาคกลับเปลี่ยนแปลงและไม่ย่ำรอยแม้แต่น้อย มิหนำซ้ำยังเป็นการเติบโตทางด้านความคิด ชีวิต และเรื่องราวของตัวละครอย่างแท้จริง
มวลโดยรวมของ ‘ความเบาหวิวเหลือทนของชีวิต’ เป็นการนำเสนอมุมมอง ทัศนคติที่ผู้เขียนมีต่อสังคม การเมือง และมนุษย์ด้วยการต่อยอดจากคำถามแรกเริ่มที่ว่าด้วย การแบ่งเลือกฝั่งฝ่ายเรื่องน้ำหนัก สานต่อไปถึงความสัมพันธ์ หยอกเล่นกับสันดานส่วนลึกของมนุษย์ และเสียดสีแวดวงการเมืองในยุโรปสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เอาไว้อย่างแสบปลาบถึงขั้วหัวใจ
ตั้งแต่จุดเริ่มต้นที่ภาคความเบาหวิวและน้ำหนัก จวบถึงภาคที่ชื่อ รอยยิ้มของคาเรนนิน คุนเดอลาพาผู้อ่านดำดิ่งสู่เรื่องราวของตัวละครนับสิบ ด้วยคำถามและคำถาม ลักษณะการนำคำถามมาใช้เล่าเรื่องของเขา มิใช่การตั้งมันขึ้นมาแล้วพยายามหาข้อสรุปแบบรีบลน หากแต่เป็นการค่อยๆ ต่อเติมเชื้อสงสัยให้โชนคุอยู่ข้างใน แล้วเพิ่มลามจนกลายเป็นเพลิงปุจฉา
จะว่าไป จนถึงบทสรุปในบรรทัดสุดท้าย เพลิงดังกล่าวก็ใช่จะถูกดับดาวให้สูญไป หากแต่ความสงสัยและปัญหาต่างๆ กลับยังแผ่กิ่งแตกก่อต่อยอดอยู่ในใจของทั้งผู้อ่านและผู้เขียนอย่างไม่รู้จักจบสิ้น และไม่มีความจำเป็นจะต้องจบสิ้น